กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูและคณะกรรมการในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5 จำนวน 148 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ PNImodified
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5 พบว่า ระดับปฏิบัติการบริหารงานวิชาการในสภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นที่มีความสำคัญมากที่สุด และมีความเร่งด่วนที่ต้องได้รับการพัฒนาก่อน ซึ่งพิจารณาตามค่าดัชนี PNImodified พบว่า อันดับ 1 คือ ด้านที่ 4 ด้านการนิเทศการเรียนการสอน รองลงมาคือ ด้านที่ 1 ด้านการจัดการหลักสูตรแผนการเรียนรู้ และอันดับสุดท้ายคือ ด้านที่ 2 ด้านการจัดการเรียนการสอน
- ผลการพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5 พบว่า กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5 ที่มีองค์ประกอบและจำนวนของ 1 วิสัยทัศน์, 5 พันธกิจ, 5 เป้าประสงค์, 5 ประเด็นยุทธศาสตร์, 69 กลยุทธ์
- ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5 พบว่า ผลการประเมินความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5 อยู่ในระดับมากที่สุด และความเหมาะสมของกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5 อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
โชติ แย้มแสง. “กลยุทธ์การดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาปฐมวัยในจังหวัดปทุมธานี”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2556.
บุญมี แท่นแก้ว. จริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2539.
พระครูปลัดอเนก ปุณฺณวุฑฺโฒ แก้วดวงดี. “รูปแบบการบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). “หลักแม่บทของการพัฒนาตน” รวมธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.payutto.net/book-content/[1 ธันวาคม 2563].
“พระราชบัญญัติ การศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2562”. ราชกิจจานุเบกษา. 136 (เมษายน 2562) : 12-13.
พระอุทัยปริยัติโกศล เสถียร ยอดสังวาลย์. “รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักไตรสิกขาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในจังหวัดภาคกลาง”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561.
รมณี เหลี่ยมแสง. “กลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางทางสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน”. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2561.
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5. รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563. รวบรวมสรุปโดย พระศรายุทธ วชิรปญฺโญ (ทวีชัย). สำนักงานการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนสามัญศึกษา เขต 5, 2564.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. รายงานข้อมูลโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กองพุทธศาสนา, 2556.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. รายงานข้อมูลโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กองพุทธศาสนา, 2552.
สุรพล พิมพ์สอน และคณะ. “กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41”. วารสารครุศาสตร์. ปีที่ 42 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2557) : 56.
อนัญญา ทาระธรรม. “การพัฒนากลยุทธ์ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของนักเรียนโรงเรียนวัดหินแร่ (เหมยากรนุสรณ์) อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก”. รายงานวิจัย. สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษานครนายก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, 2558.
อำนาจ บัวศิริ. “กระบวนการสร้างภาวะผู้นำด้วยหลักไตรสิกขา”. วารสารครุศาสตร์ปริทรรรศน์ฯ. ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม 2561): 27.
Ashworth, Allan and Harvey, Roger C. Assessing Quality in Further and Higher Education. London: Jessica Kingsley Publishers, 1994.
Patin, J. L. “The administrative behavior of the junior high school principal”. dissertation abstracts international. Vol.30 (No.4) (1969): 1373-A.
Ross, M.L. “A Comparative Case Study of Teacher Participation in Planning in Three Types of Decentralization Schools”. Ph.D. Dissertation. State University of New York at Buffalo, U.S.A., 1997.