รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5

Main Article Content

โฆษิต โฆสิตธมฺโม
พระมหาพิสิฐ วิสิฎฺฐปญฺโญ
ประจิตร มหาหิง

บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5 และ3) เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และPNImodified ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5 ได้แก่ ด้านการจัดการหลักสูตรแผนการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดสื่อการเรียนการสอน ด้านการนิเทศ และด้านการวัดผลและประเมินผล 2. สภาพปัจจุบัน  สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5 พบว่า การบริหารงานวิชาการในสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก และพบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการจัดการหลักสูตรแผนการเรียนรู้และด้านการนิเทศการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการจัดสื่อการเรียนการสอน ตามลำดับ และการบริหารงานวิชาการในสภาพที่พึงประสงค์โดยรวม อยู่ในระดับมาก และพบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการจัดการหลักสูตรแผนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการนิเทศการเรียนการสอน และด้านการจัดสื่อการเรียนการสอน ตามลำดับ เมื่อเรียงลำดับตามความสำคัญของความต้องการความจำเป็น ซึ่งพิจารณาตามค่าดัชนี PNImodified พบว่า อันดับ 1 คือ ด้านการจัดสื่อการเรียนการสอน รองลงมาคือ ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการจัดการหลักสูตรแผนการเรียนรู้ ด้านการนิเทศการเรียนการสอน และด้านการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ3. ผลการสร้างและประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5 พบว่า ได้รูปแบบที่มีองค์ประกอบของชื่อรูปแบบ วัตถุประสงค์ หลักการ แนวคิด และเนื้อหาของวิธีการปฏิบัติของรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 และผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5 พบว่า ความเป็นไปได้และความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล, กรุงเทพมหานคร : กระทรวงฯ.

จุมพล พูลภัทรชีวัน และคณะ. (2553). การวิเคราะห์บริบท : ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรี ชำนาญศิลป์. (2558). “การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพเขตภาคเหนือตอนล่าง”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิโชติสิกขกิจ (ณรงค์ กิตฺติธโร). (2560). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร”. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดบุญเจิด สุจิตฺโต (สุนทรสุข). (2561). “รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุริยา คั้นพ๊าบ (แสงอินตา). (2562). “การพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาตามหลักพุทธบริหารการศึกษาของคณะสงฆ์มหายานในประเทศไทย”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุธีวรญาณ (ณรงค์ จิตฺตโสภโณ). (2553). คู่มือปฏิบัติธรรม. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอพริ้นท์ แอนด์แพ็ค จำกัด.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2558). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : เฮาส์ออฟเคอร์มีสท์.

ยุทธวีร์ แก้วทองใหญ่. (2562). “รูปแบบการจัดการเรียนการสอนลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2544). การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรินทร์ ปะนามะเก. (2558). “การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2”. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 : 52.

สุกานดา ตปนียางกูร. (2543). หลักการนิเทศการศึกษา. เชียงใหม่ : ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Ashworth, Allan and Harvey, Roger C. (1994). Assessing Quality in Further and Higher Education. London: Jessica Kingsley Publishers.

Patin, J. L. (1969). “The administrative behavior of the junior high school principal”. dissertation abstracts international. Vol.30 (No.4): 1373-A.