การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้กลวิธีการสอนแบบดี อาร์ ที เอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิผลของหลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กลวิธีการสอนแบบดี อาร์ ที เอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2. เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้กลวิธีการสอนแบบดี อาร์ ที เอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนนาครัวประชาสามัคคี จำนวน 7 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบแผนการทดลองเบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตร แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กลวิธีการสอนแบบดี อาร์ ที เอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตร 2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร 5) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 6) สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ และ7)การวัดและประเมินผล ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.87, S.D. = 0.14) คู่มือการใช้หลักสูตรมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50, S.D. = 0.36) ผลการหาประสิทธิผลของหลักสูตรฯ มีค่าดัชนีประสิทธิผลอยู่ที่ 0.6294 2. การศึกษาผลการใช้หลักสูตรฯ พบว่านักเรียนมีคะแนนพัฒนาการหลังเรียนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฯ โดยพัฒนาการสัมพัทธ์ของนักเรียนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 72.03
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. เทคโนโลยีการศึกษา ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2533.
ณัฏฐโภคิณ ภูริวัฒนภูวดล และปริญญภาษ สีทอง. การพัฒนาหลักสูตรหลักสูตรส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1, 24-33, 2564.
ธิดาภรณ์ ทองหมื่น. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีสอนแบบ KWL Plus ร่วมกับเทคนิค DR-TA เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 8 ฉบับที่ 1, 94-102, 2560.
ปกรณ์ ประจันบาน. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์, 2552.
พระมหาภานุวัตน์ ลุใจคำ และปริญญภาษ สีทอง. การพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นพระธรรมทูตสำหรับสามเณร. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ปีที่ 9 ฉบับที่ 9, 10-20, 2563.
วราภรณ์ บุญทอง และดวงจันทร์ เดี่ยววิไล. การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะการอ่านภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีที่ 13 ฉบับที่ 37, 81-82, 2564.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. หลักและวิธีการสอนอ่านภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2545.
เอกลักษณ์ เทพวิจิตร. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA (Directed Reading - Thinking Activity). วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2, 17-27, 2560.
Taba, H. Curriculum Development Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World, 1962.