แนวทางสร้างสุขสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

Main Article Content

รังษิยา อุ่นใจ

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่อง “แนวทางสร้างสุขสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง” พบว่าอุบัติการณ์การเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณผู้ป่วยที่มีความพิการ เสื่อมสมรรถภาพ และอยู่ในภาวะที่ต้องพึ่งพิงสูงขึ้น ส่งผลให้ต้องอาศัยผู้ให้การดูแลผู้ป่วยเพิ่มตามไปด้วยผู้ให้การดูแลผู้ป่วย (caregiver) ในทางปฏิบัติ หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลช่วยเหลือบุคคลอื่นที่มีปัญหาเจ็บป่วยเรื้อรังหรือภาวะพิการ อาจอาศัยอยู่ด้วยกันกับผู้ป่วยหรือไม่ก็ได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ เมื่อมีคนใดคนหนึ่งในครอบครัวมีการป่วย สมาชิกในครอบครัวที่เหลือ จะปรับตัวมารับหน้าที่เป็นผู้ให้การดูแล ทำให้ครอบครัวมีหน้าที่ร่วมกันเพื่อรับผิดชอบดูแลสุขภาพของผู้ป่วยมากขึ้น ผู้ดูแลผู้ป่วยควรใช้หลักพรหมวิหารธรรมในการดูแลผู้ป่วยเพราะเป็นหนทางที่ทำให้ผู้ดูแลผู้ป่วยคลายจากความเครียด ความกังวล ความเหนื่อยล้าจากการดูแลผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต), พจนานุกรมฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 17, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2551), หน้า 161 -163.

พุทธทาส, งานเป็นผล คนเป็นสุข, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 2552), หน้า 60.

พระเทพปริยัติโมลี (ทองดี สุรเดโช ป.ธ.9) , หน้าที่ของคน, (กรุงเทพมหานคร : เลี่ยงเชียง, ม.บ.ป.), หน้า 48-49.

วิชุดา จิรพรเจริญ และชัยสิริ อังกุระวรานนท์, เวชปฏิบัติครอบครัว 2, พิมพ์ครั้งที่ 3, (เชียงใหม่: Box Office Graphic Design, 2561) หน้า 132.

คณาจารย์กลุ่มจิตวิทยาและการแนะแนว, Human Behavior and Self Development, (คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี, 2554), หน้า 54

อภิชัย มงคล และคนอื่นๆ, การศึกษาดัชนีความสุขของคนไทย, รายงานวิจัย, โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น, (ขอนแก่น: โรงพิมพ์พระธรรมขันต์, 2544), หน้า 90

วิทยากร เชียงกูล, จิตวิทยาในการสร้างสุข, (กรุงเทพ: สำนักพิมพ์สานธาร, 2548), หน้า 87

สุภาณี สุขะนาคินทร์, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขของประชาชน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์, วิทยานิพนธ์ สาขาวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น (บัณฑิตวิทยาลัย: ,มหาวิทยาลัยอุตรดิตถ์,2549), หน้า บทคัดย่อ.

Oishi, shigehiro and Gilberts, Elizabeth A, “Current and future directions in culture and happiness research”, Current Opinion in Psychology 2016, (8): 54-58.