รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

Main Article Content

สุนทรีพร อำพลพร
อรสา จรูญธรรม
ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 3) พัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  4) ประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1)  ภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามีองค์ประกอบจำนวน 10 องค์ประกอบ ได้แก่ ความลุ่มลึก ความยืนยาว การกระจายอำนาจ ความยุติธรรม ความหลากหลาย ความพร้อมด้านทรัพยากร ความกล้าหาญและเด็ดขาด ความอดทน การมีวิสัยทัศน์ และการสร้างความไว้วางใจ 2) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาโดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทุกด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การสร้างความไว้วางใจ ความกล้าหาญและเด็ดขาด ความยุติธรรม ความหลากหลาย การมีวิสัยทัศน์ ความอดทน ความพร้อมด้านทรัพยากร ความยืนยาว ความลุ่มลึก และการกระจายอำนาจ 3) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย  หลักการ  วัตถุประสงค์  โครงสร้างและสาระสำคัญ กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำที่ยั่งยืน  การนำรูปแบบไปใช้  และเงื่อนไขความสำเร็จ 4) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามีความถูกต้องอยู่ในระดับมาก มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิติมา ปรีดีดิลก. (2532). การบริหารและนิเทศการศึกษาเบื้องตน. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.

ทิวากานต์ ศรีสวัสดิ์ (2558). ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(4), 57-64.

เทื้อน ทองแก้ว. (2545). ภาวะผู้นำ : สมรรถนะหลักของผู้บริหารในยุคปฏิรูป. วิชาการ, 5(9), 35-43.

ปภาวี พิพัฒนลักษณ์. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเรียนร่วมตามแนวคิดภาวะผู้นาที่ยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพลินใจ พฤกษชาติรัตน์. (2549). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วาราดา ปวีณวัชร์. (2561). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนสำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา: การพัฒนาและทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

วิเชียร ชิวพิมาย. (2539). องค์กรแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.

ศิลป์ชัย สุวรรณมณี. (2555). องค์ประกอบสำคัญสู่การเป็นผู้นำแบบยั่งยืน. วารสารปาริชาต 25(4), 77-85.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2551). สถิติการวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ : มิสชั่น มีเดีย.

Hargreaves, A. (2005). Sustainable leadership. In B. Davies (Ed.), The Essentials of

http://dx.doi.org/10.5539/jel.v3n1p122

Yukl, Gary A. (1989). Leadership in organizations. New Jersey: Prentice-Hall.