แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมไวยาวัจกรในกิจการพุทธศาสนา อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

Main Article Content

สว่างจิต ขันตี

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย “แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมไวยาวัจกรในกิจการพุทธศาสนาอำเภอภูเพียงจังหวัดน่าน” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้และบทบาทของไวยาวัจกรในกิจการพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ของไวยาวัจกรในอำเภอภูเพียง จังหวัดน่านและ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมไวยาวัจกรในกิจการพุทธศาสนา อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ซึ่งในบทความนี้เน้นนำเสนอวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 3 โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูป/คน ประกอบด้วย เจ้าอาวาส ไวยาวัจกรและผู้นำชุมชน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบในการพัฒนาและส่งเสริมไวยาวัจกรอำเภอภูเพียงจังหวัดน่าน ควรอยู่ภายใต้ MAP Model ซึ่งคุณลักษณะของไวยาวัจกรควรประกอบด้วยซื่อสัตย์ อ่อนน้อม รอบรู้ มีวิสัยทัศน์ จิตอาสา เก่งประสานงาน มีส่วนร่วม และสร้างเครือข่าย โดยความซื่อสัตย์มีสำคัญที่สุด ที่ไวยาวัจกรต้องใช้การจัดทำบัญชี ดูแลทรัพย์สินและผลประโยชน์ของวัด ส่วนวิธีการพัฒนาและส่งเสริมนั้น ควรเป็นรูปแบบการอบรม (training) อบรมเชิงปฏิบัติการ (learning by doing) และถ่ายทอดองค์ความรู้ (coaching) ซึ่งหลักธรรมที่นำมาใช้ในการพัฒนาคือไตรสิกขา จะทำให้ได้ไวยาวัจกรต้นแบบที่มีความตระหนักรู้ในกิจการพุทธศาสนา 8 ด้าน คือ การปกครองคณะสงฆ์ การศึกษาสงฆ์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรม การอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา การศาสนสถาน การศาสนสมบัติ และการส่งเสริมพระพุทธศาสนา รวมถึงมีความเป็นนักบริหารและนักประชาสัมพันธ์ อันจะสืบสานงานของกิจการพุทธศาสนาและพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา. ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.dra. go.th/page/organization-vision [14 ตุลาคม 2564].

ณัฐวุฒิ เงินท้วม. “มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของเจ้าอาวาสตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์”. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2563): 76-77.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล.“ปัจจัยการบริหารที่เกื้อหนุนการคงอยู่ของพุทธศาสนาในประเทศไทย”.วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยวิทยาเชิงพุทธ. ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 (กรกฎาคม 2573): 273-283.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา, 2537.

พระสุธีรัตนบัณฑิต. คู่มือและแนวปฏิบัติโครงการวัดประชารัฐสร้างสุข. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์, 2563.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2537.

มหาเถรสมาคม. อำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://mahathera. onab.go.th/index.php?url=content1&id=1 [14 ตุลาคม 2564].

ราชกิจจานุเบกษา. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://cdc.parliament.go.th/draftconstitution2/ewt_dl_link.php?nid=1038& filename=index [14 ตุลาคม 2564].

วรุตม์ อรุมชูตี. “สถานะของเจ้าอาวาสไวยาวัจกรและกรรมการวัดตามกฎหมายอาญา”. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2563.

วัดตระพังทอง. ระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยการตั้งหน่วยอบรมประจำตำบล พ.ศ. 2518. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.traphangthong.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=539122403 [14 ตุลาคม 2564].

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2554.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ประวัติสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://onab.go.th/th/content/page/index/id/1 [14 ตุลาคม 2564]..

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ระบบทะเบียนวัด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://binfo. onab.go.th/Temple/Dashboard.aspx [13 ตุลาคม 2564].

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สถิติผู้นับถือศาสนา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N21-09-61-1.aspx [14 ตุลาคม 2564].