วิเคราะห์หลักธรรมและความเชื่อในประเพณีงานศพของชาวรามัญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาพิธีศพในสมัยพุทธกาล 2) เพื่อศึกษาพิธีศพของชาวรามัญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 3) เพื่อวิเคราะห์คติธรรมความเชื่อในงานศพของชาวรามัญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ชาวมอญเกาะเกร็ดเป็นกลุ่มชนที่เคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองมาก โดยเฉพาะพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย ชาวมอญแบ่งลักษณะการตาย เป็น 2 ประเภท คือตายแบบปกติ และตายแบบไม่ปกติ การตายแบบปกติมีขั้นตอนและพิธีกรรม คือ การบอกข่าวการตายเบื้องต้น การอาบน้ำศพ การแต่งตัวศพ การนำหมากและเงินใส่ปากศพ การปิดปากศพด้วยใบพลู การมัดศพ การตั้งศพ การนำศพลงโลง การเคลื่อนย้ายและการจูงศพ การฝังศพ การจัดวางฟืนเผาบนเชิงตะกอน การเผาศพ ซึ่งมีพิธีโยนผ้าราไฟ การกลับจากการเผาศพ การเก็บอัฐิ พิธีปล่อยพระ ส่วนพิธีกรรมการจัดการศพแบบไม่ปกติ มีขั้นตอนที่แตกต่างจากศพปกติ คือเมื่อมีคนตายต้องรีบฝัง จะไม่มีการทำบุญเลี้ยงพระ จะทำได้หลังจากวันตายแล้ว 7 วัน ทำทานด้วยอาหารดิบ การขุดศพขึ้นมาเผานั้น ต้องไม่ต่ำกว่า 3 ปี ยกเว้นศพที่เป็นโรคติดต่อจะไม่มีการเผา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
จวน เครือวิชฌยาจารย์. วิถีชีวิตชาวมอญ. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุธาการพิมพ์, 2537.
ชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ. จดหมายเหตุชาวไทยเชื้อสายมอญ: บำเพ็ญกุศลถวายสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ตามลัทธิธรรมเนียมมอญ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2551.
ปรานี วงษ์เทศ. พิธีกรรมเกี่ยวกับความตายในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปกร, 2434.
พิศาล บุญผูก. ปี่พาทย์มอญรำ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558.
พิศาล บุญผูก. รํามอญในสงกรานต์บางกระดี่. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2537.
สุเอ็ด คชเสนี. วัฒนธรรมประเพณีมอญ. กรุงเทพมหานคร: เทคโปรโมชั่นแอนด์แอดเวอร์ไทยซิ่ง, 2543.
อลิสา รามโกมุท. เกาะเกร็ด: วิถีชีวิตชุมชนรามัญริมน้ำเจ้าพระยา. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2542.
เอ็ด ภิรมย์. เกาะเกร็ด. กรุงเทพมหานคร: เอ็น.พี.สกรีนพริ้นติ้ง, 2542.
เกตุอัมพร ชั้นอินทรงาม. “การศึกษาพิธีกรรมเกี่ยวกับความตายของชาวมอญเกาะเกร็ด”. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ, 2550.
เฉลิมศักดิ์ บุญมานำ. “มอญร้องไห้”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2556.
อิมธิรา อ่อนคำ. “ประเพณีงานศพของชาวมอญกับความเชื่อที่สืบทอดอย่างเข้มแข็งในสังคมไทย”.วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2562.