ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อคณะสงฆ์ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง สมุทรปราการ ในสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรนา (COVID-19 )
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อคณะสงฆ์ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง สมุทรปราการ ในสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรนา (COVID-19)” มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อคณะสงฆ์ในตำบลปากน้ำ (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อคณะสงฆ์ในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในตำบลปากน้ำและ (3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของประชาชนในตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง สมุทรปราการ ในสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยมีระเบียบวิธีเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การประอาชีพ การว่างงาน การท่องเที่ยว ภาคเกษตรกรรม ปัญหาสุขภาพ ประชาชนอยู่ในภาวะยากจน สะท้อนถึงระดับความรุนแรงของปัญหาทางสังคมที่เพิ่มมากขึ้น พระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้นำทางจิตใจในการบรรเทาความทุกข์ใจด้วยให้คำปรึกษา และบรรเทาความเดือดร้อนด้านกายภาพ คณะสงฆ์ในตำบลปากน้ำได้ให้ความช่วยเหลือในการแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต เข้าเยี่ยมเยียนประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ทัศนคติของประชาชนในตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง สมุทรปราการ ในสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรนา (COVID-19) พระสงฆ์จึงเป็นที่พึ่งทางกาย ทางใจ เมื่อชุมชนได้รับผลกระทบ พระสงฆ์ผู้มีเมตตากรุณาและเป็นที่พึ่งของชุมชนได้ช่วยเหลือประชาชน บริจาคสิ่งของจำเป็นในการดำเนินชีวิต เช่น ข้าวกล่อง ข้าวสารอาหารแห้ง น้ำดื่ม เครื่องนุ่งห่ม สบู่ ยาสีฟัน ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด แพมเพิส หน้ากากอนามัย เครื่องนอน เงิน ยารักษาโรค บรรเทาความเดือดร้อนได้พระสงฆ์เป็นที่พึ่งทางกายและทางใจแก่ประชาชน เมื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อคณะสงฆ์ในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในตำบลปากน้ำ การวิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างตัวแปร จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพและรายได้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นจะเห็นว่าวัดและพระสงฆ์เป็นศูนย์รวมศรัทธาในยามที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน วัดเป็นศูนย์รวมกิจกรรมสาธารณประโยชน์การกุศลต่าง ๆ วัดจึงเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอย่างแท้จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
_________.พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
กองศาสนศึกษา กรมการศาสนา. แบบประเมินผล อ.บ.ต. ฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนากรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมศาสนา, 2525.
กาญจน์ เรืองมนตรี. งานบริหารการศึกษาสัมพันธ์. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2545.
กรมสุขภาพจิต. คุณเข้าใจผู้อื่นแค่ไหน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2563.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). พุทธศาสนากับสังคมปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจํากัด ศิวพรการพิมพ์, 2513.
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารพัฒนาเอเชีย. “ การประเมินผลกระทบรวมด้านเศรษฐกิจและสังคมของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย”. รายงานวิจัย. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2563.