ศึกษากุศโลบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอบายมุขตามแนวพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยวิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษากุศโลบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอบายมุขตามแนวพระพุทธศาสนา” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาอบายมุขในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบของอบายมุขที่มีต่อตนเองและสังคม 3) เพื่อศึกษากุศโลบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอบายมุขตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการวิจัย พบว่า อบายมุข แปลว่าทางแห่งความเสื่อม เกิดจากอกุศลจิตนำให้เกิดกิเลสวีติกมะ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตล้มเหลวและสังคมเสื่อมทราม มี 6 อย่าง คือ 1) การดื่มน้ำเมา 2) การเที่ยวกลางคืน 3) การเที่ยวดูการละเล่น 4) การเล่นการพนัน 5) การคบคนชั่วเป็นมิตร 6) การเกียจคร้านการทำงาน สภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากอบายมุขก่อให้เกิดปัญหาต่อตัวเองคือ สุขภาพเสื่อมโทรม เสื่อมทรัพย์ การเป็นทาสอบายมุข เป็นต้น และปัญหาทางสังคม มีความยากจน ครอบครัวแตกแยก สังคมอยู่ด้วยการเอารัดเอาเปรียบ เป็นต้น กุศลโลยายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอบายมุขตามแนวทางพระพุทธศาสนาในสังคมยุคปัจจุบัน คือ การสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาความรู้โดยศึกษาให้รู้คุณและโทษของอบายมุข การฝึกฝนตนให้มีสติสัมปชัญญะ มีหิริและโอตตัปปะเมื่อจะทำผิด ดำรงตนให้อยู่ในหนทางที่ถูกต้อง ละความพอใจทางอบายมุข ดำเนินชีวิตตามหลักสัมมาอาชีพ และการประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ พัฒนาตนด้วยหลักไตรสิกขาคือศีล สมาธิ และปัญญาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้นแก่ตน วางแผนจัดการครอบครัวและช่วยเหลือสังคม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระครูโพธิธรรมานุศาสก์. “แนวทางการส่งเสริมการใช้หลักพุทธธรรมเพื่อลดอบายมุขในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม”. Journal of Modern Learning Development, ปีที่ 5 ฉบับที่ 6 (พฤศจิกายน – ธันวาคม 2563), หน้า184-198.
พระชัยยนต์ สิริปุญฺฺโญ (นามธรรม). “หลักอบายมุขในพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา พระพุทธศาสนาและปรัชญา. (บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 2560). หน้า 2.
พระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 11 (กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศรีธนาเพอร์เฟคท์ จำกัด}2548). หน้า 319.
________ , พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 10, (กรุงเทพมหานคร: บริษัทสื่อตะวัน จำกัด, 2542). หน้า 309.
พระราชนันทมุนี (ปัญญานันทภิกขุ). ทางเสื่อมของชีวิต. (กรุงเทพมหานคร: บริษัทโรงพิมพ์ สมิตร จำกัด, 2524 ). หน้า 45.
พระสุชีพ วรญาโณ (อินทร์สำราญ). “การพัฒนาคุณภาพสังคมด้วยการงดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัยตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนาและปรัชญา. (บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 2558). หน้า 1.