การจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธศึกษาเฉพาะวัดพระยาสุเรนทร์ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

PhrapaladWachirasakon Phaethong
อุทัย สติมั่น
พระครูพิบูลกิจจารักษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธศึกษาเฉพาะวัดพระยาสุเรนทร์ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษา การจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ศึกษากรณี  วัดพระยาสุเรนทร์ แขวงสามวานตะวันตก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire)  ได้แก่ ประชาชนที่มาท่องเที่ยวภายในวัดพระยาสุเรนทร์ จำนวน 132 คน ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวของวัดพระยาสุเรนทร์ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 51.8  เพศชาย จำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 48.2 ส่วนใหญ่มีอายุ 19-23 ปี ร้อยละ 29.1 อายุ 29-33 ปี ร้อยละ 25.7 มีระดับการศึกษาอนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 36.4 และมีอาชีพเป็นพนักงานบริษัท/โรงงาน ร้อยละ 31.9โดยภาพรวม อยู่ในระดับดีมาก (x̄ = 3.96) นักท่องเที่ยวมีความเห็น แหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรมที่มีในวัดเป็นแหล่งเรียนรู้ได้เหมาะสม นักท่องเที่ยวมีความเห็นว่า แนวทางในการพัฒนาจิตใจและปัญญา คือ ได้รับความรู้และหลักการในทำบุญทำทาน ได้รับแนวทางในการดำเนินชีวิต คือ ไม่ประมาทในชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยความมีสติ และผลที่ได้รับจากการเดินทางมาท่องเที่ยวคือ รู้สึกมีความสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑาภรณ์ หินซุยและคณะ,“แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ”: กรณีศึกษาวัดประชาคมวนาราม อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด, วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2557.

ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540, กรุงเทพมหานคร: สมานการพิมพ์, 2554.

นพวรรณ วิเศษสินธุ์, ศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในจังหวัดปทุมธานี, วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 กันยายน–ธันวาคม 2560.

มาโนช พรหมปัญโญ และคณะ, “แนวทางการเตรียมความพร้อมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของจังหวัดอุบลราชธานี”, วารสารการบริการและการท่องเที่ยว, ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2556.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา, การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน, เอกสารประกอบการสอนเชียงใหม่, คณะมนุษยศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2542.

พระครูวิมลศิลปกิจ (เรืองฤทธิ์ ธนปญฺโญ)และคณะ, “การศึกษารูปแบบและสภาพแหล่งเรียนรู้ของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย”, รายงานวิจัย, พะเยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555.

พจนา บุญคุ้ม, “บทบาทของชุมชนในการเสริมสร้างอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดนครปฐม”, งานวิจัย, นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.

วัชราภรณ์ ระยับศรี, “พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติที่มาเที่ยววัดในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร”, วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2550.