รูปแบบการวัดระดับชาวพุทธด้วยคะแนนพฤติกรรม

Main Article Content

ประเชิญ ชื่นรักชาติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมายของคำว่าชาวพุทธในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) ศึกษาระบบคะแนนพฤติกรรมของบริษัทไฟโก้ เพื่อนำแนวคิดและวิธีการมาประยุกต์ใช้ 3) เสนอรูปแบบการวัดระดับชาวพุทธด้วยคะแนนพฤติกรรม ตามแนวทางของระบบคะแนนพฤติกรรมไฟโก้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผสมการทดสอบวัดระดับภาคสนาม เครื่องมือทดสอบสร้างด้วยกูเกิ๊ลแอปส์ ข้อมูลและการประเมินผลถูกบันทึกในเครื่องมือ คำถามเป็นแบบปรนัย เสนอผลการวิจัยด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ในภาษาไทย มีคำที่สื่อความหมายถึงชาวพุทธหลายคำ เช่น พุทธศาสนิกชน แต่ใช้กันอย่างไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอน เมื่อสืบค้นในพระไตรปิฎก พบว่า มีมากกว่า 35 คำ เช่น บริษัท สาวก ผู้วิจัยได้เสนอโครงสร้างชาวพุทธ 5 ระดับตามนัยแห่งสิกขาบทวิภังค์แห่งปฐมปาราชิก ในวินัยปิฎก ได้แก่ ภิกษุ-ภิกษุณี สามเณร-สามเณรี อารามิก-อารามิกินี อุบาสก-อุบาสิกา และคฤหัสถ์ (ชาวพุทธทั่วไป) 2) บริษัทไฟโก้ ในสหรัฐอเมริกา ได้สร้างระบบคะแนนพฤติกรรม โดยนำข้อมูลของลูกค้ามาวิจัยแล้วคำนวณออกมาเป็นคะแนน
มีแนวคิดสำคัญคือ พฤติกรรมของคนวัดกันได้ 3) ผู้วิจัยได้สร้างรูปแบบการวัดระดับชาวพุทธขึ้นตามแนวทางระบบคะแนนไฟโก้ และได้เลือกชาวพุทธทั่วไปและอุบาสก-อุบาสิกาเป็นผู้ทดสอบ คำถามมี 2 ชุด วิธีการประเมินผลและการตีความหมายใช้สถิติเชิงพรรณนาและมาตรประมาณค่า 5 ระดับของลิเคอร์ท ผลการทดสอบคือ 14 คนในระดับแย่-พอใช้ 32 คนในระดับปานกลาง 19 คนในระดับดี-ดีมาก 2 คนได้คะแนนศูนย์ องค์ความรู้ที่ได้รับคือ ความหมายที่ชัดเจนของคำว่าชาวพุทธ โครงสร้างใหม่ของชาวพุทธ และรูปแบบการวัดระดับชาวพุทธ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ข่าวไทยพีบีเอส. จำนวนพระภิกษุ-สามเณร 14 ปีย้อนหลัง. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://news. thaipbs.or.th/infographic/227#:~:text=ย้อนไปดูข้อมูลจำนวน,2%20แห่ง%20หาทางแก้ไข, 2562.

ป. หลงสมบุญ, พันตรี. พจนานุกรม มคธ-ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนคร: ร้านเรืองปัญญา, ม.ป.ป.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พระพุทธศาสนาในอาเซีย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, 2540.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 200. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน, 2541.

____________. สยามสามไตร. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน, 2552.

ฟื้น ดอกบัว, รศ. พระพุทธศาสนากับคนไทย. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, 2542.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2525.

รุ่งทิพย์ เลิศนิทัศน์. “ทัศนคติ ความเชื่อ วิถีปฏิบัติในการทำบุญของพุทธศาสนิกชนในมหานคร : กรณีศึกษาพุทธศาสนิกชนในกรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (สหสาขาวิชา). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2559.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ศาสนาในประเทศไทย. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/ wiki/ศาสนาในประเทศไทย, [10 มกราคม 2565].

อาทิตยา จารุจินดา. “พฤติกรรมทางศาสนาของคนในสังคมเมือง : กรณีศึกษาวัดสนามนอกและวัดสนามใน ตำบลวัดชะลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี”. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต. สาขาวิชามานุษยวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546.

Liu, Tina C. Intro to Credit Scorecard. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://towardsdatascience.com/intro -to-credit-scorecard-9afeaaa3725f, [10 มกราคม 2565]

Sipes, Jeff. An Inside Look at FICO Scores. Blue Water Credit: Kindle Edition, 2019.

Wikipedia. Likert scale. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Likert_scale, [10 มกราคม 2565].