การระงับความโกรธของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้เป็นบทความวิชาการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาการระงับความโกรธของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทย เป็นบทความวิชาการที่จะส่งเสริมเป็นแนวทางในการระงับความโกรธ ซึ่งเป็นการศึกษาถึงความหมายและอุบายวิธีระงับความโกรธ พบว่า ความโกรธ (โทสะ) คือ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความอาฆาต ความพยาบาท คิดประทุษร้ายความโกรธย่อมก่อให้เกิดความพินาศภัยพิบัติต่อตนเอง และผู้อื่นด้วย ลักษณะของความโกรธ คือ โทสะ วิธีระงับความโกรธตามหลักของศาสนาไม่ว่าจะอยู่ในระดับเบื้องต้นคือ การปฏิบัติตามหลักเบญจศีลในเบื้องต้นซึ่งเป็นหลักธรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาชีวิตของมนุษย์เพื่อดับความโกรธ พยายามไม่ให้ความโกรธเกิดขึ้น ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้ จิตผู้นั้นย่อมผ่องใสและ มีสมาธิที่ตั้งมั่นได้อย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดปัญญาเพื่อละความโกรธออกจากจิตของตน และ รู้จักเสียสละ ปล่อยวางความโกรธทิ้งไป โดยมีสติสัมปชัญญะควบคลุมอยู่เสมอทุกเมื่อเพื่อรู้เท่าทันความโกรธที่จะเข้ามาจิตใจ หรือใช้หลักการเจริญเมตตาเพื่อปรารถนาให้ผู้อื่นโดยเฉพาะ ได้รับสุขทั้งกาย และ ใจโดยการแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลกให้มีความสุข หรือให้มี ทมะ คือการข่มจิตไม่ให้ความโกรธเกิดขึ้น หรือ มีขันติในการอดทนต่อการสละความโกรธออกจากจิตของตน และ มีหิริโอตตัปปะ คือ ความรู้สึกละอายที่จะให้ความโกรธเกิดขึ้นเพื่อไม่ให้สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
จำนงค์ ทองประเสริฐ. คุณธรรมประจำใจ.คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ จัดพิมพ์เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิบพ์จันทร์เพ็ญ, 2551.
พระมหาสมทรง สิรินธโร นายแพทย์ประเวศ วะสี นายสมบูรณ์ สุขสำราญ.บทบาทของวัดและพระสงฆ์ไทยในอนาคต.กรุงเทพมหานคร: บริษัทเคล็ดไทย จำกัด, 2525.
พันเอกปิ่น มุนุกันต์. ประมวลศัพท์ 6 ศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลสมัย จำกัด , 2534.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. ธรรมเพื่อความสวัสดีแห่งชีวิต กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา, 2542.
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์. ธรรมานุกรมประมวลพระนิพนธ์ กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย จัดพิมพ์ในงานวชิรญาณวงศานุสรณ์ครบ 100 ปี นับแต่วันประสูติ แห่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วันที่ 21-27 พฤศจิกายน พุทธศักราช, 2515.
เสถียรพงษ์ วรรณปก. พุทธวิธีแก้ทุกข์ในสายธารธรรม.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาจัดพิมพ์, 2535.