การศึกษาความสุขของการเป็นผู้ให้และผู้รับในพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาความสุขของการเป็นผู้ให้และผู้รับในพระพุทธศาสนา” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเป็นผู้ให้และผู้รับในพระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาความสุขของผู้ให้และผู้รับในพระพุทธศาสนา.และ. เพื่อวิเคราะห์ความสุขของการเป็นผู้ให้และผู้รับในพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Ducumentary Research) และการวิจัยภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ผลการศึกษาพบว่า ความสุขของผู้ให้และผู้รับในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของผู้ให้และผู้รับไว้อย่างเป็นระบบ การเป็นผู้ให้และผู้รับที่ปรากฎในคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้งสองจะต้องเป็นผู้มีศีล มีคุณธรรมความดี ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นพระสงฆ์ หรือนักบวชเท่านั้น บุคคลทั่วไปก็สามารถเป็นผู้ให้และผู้รับได้เหมือนกัน การให้เป็นการพัฒนาจิต กำจัดตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ความสุขของการเป็นผู้ให้และผู้รับในพระพุทธศาสนานั้น คือการได้ช่วยเหลือสังคมสุข ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ตอบแทนบุญคุณ และสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์จากการเป็นผู้ให้เพื่อประโยชน์ตนเองแล้ว ยังเป็นการนำประโยชน์จากผู้ให้สู่คนส่วนมากด้วย ความสุขของการเป็นผู้ให้และผู้รับในพระพุทธศาสนา กล่าวว่าต้องมีคุณสมบัติองค์ 3 คือ เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ นั้น เป็นสิ่งที่สำคัญต่อความสุขในการเป็นผู้ให้และผู้รับที่เชื่อมความสัมพันธ์ความสุขเข้ากับชีวิต ร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาญ ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตให้อยู่เย็นเป็นสุข คือมีความรู้ในคุณธรรมแห่งการให้และรับในการดำเนินชีวิตให้บรรลุจุดหมายของมนุษย์อันเกิดจากการให้และการรับ เพราะการให้เป็นต้นตอแห่งความสงบสุข
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กรมสุขภาพจิต, อีคิว ความฉลาดทางอารมณ์, กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนากรมสุขภาพจิต, 2543.
ดุษฎี อายุวัฒน์, ความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2562”
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ), การให้ทานที่ไม่ต้องเสียเงินแล้งยังได้นิพพาน, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด, ม.ป.ป.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต), สถานการณ์พระพุทธศาสนา กระแสไสยศาสตร์, กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม, 2539.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 16, กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด 2554.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโรและเขมณัฏฐ์ อินทรสุวรรณ, ตัวชี้วัดความสุข: กลยุทธการสร้างและการใช้เพื่อชุมชนเป็นสุข, กรุงเทพมหานคร: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข, 2553.
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์ และคณะ, หลักการดำรงชีวิตในสังคม, พิมพ์ครั้งที่ 2กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2533
ปิ่น มุทุกัณฑ์, มงคลชีวิต, กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2535
ริการ์ มาติเยอ, คู่มือพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญที่สุด, กรุงเทพมหานคร: สวนเงินมีมา, 2551.
สุชีพ ปุญญานุภาพ, พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน, กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2537