การพัฒนาการคิดทางคณิตศาสตร์ภายใต้บริบทการศึกษาชั้นเรียน และวิธีการแบบเปิด เรื่อง รูปร่างและรูปทรง

Main Article Content

จตุพร นาสินสร้อย
นฤมล ช่างศรี
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาการพัฒนาการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปร่างและรูปทรง ในบริบทการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง รูปร่างและรูปทรง นักเรียนได้เรียนรู้รูปร่างและรูปทรงจาก 1) สร้างความคุ้นเคยผ่านการสังเกตและการสัมผัสรูปทรงเพื่อจำแนกรูปทรงด้วยการพูดคุยกับเกี่ยวกับรูปทรงต่างๆ ที่นำมา และกิจกรรมการทายสิ่งของจากการสัมผัสเพื่อจำแนกตามรูปทรงต้นแบบ 2) สร้างความเข้าใจรูปร่างจากการสัมผัสรูปทรง โดยให้มีการแข่งขันกันด้วยการนำรูปทรงมาต่อให้สูงที่สุด 3) การสังเกตรูปทรงและด้านของแต่ละรูปทรงจากการสร้างสิ่งที่สนใจด้วยรูปทรงที่กำหนดด้วยการให้ลองสร้างสิ่งที่สนใจจากรูปทรงที่เตรียมมา 4) นักเรียนลอกรูปจากรูปทรง 3 มิติ เพื่อสร้างรูปจากรูปร่าง 2 มิติ ตามจินตนาการของนักเรียนเพื่อเรียนรู้ลักษณะเฉพาะสำหรับการเรียนรู้คำนิยามของรูปทรงทางคณิตศาสตร์ในระดับชั้นต่อไป ด้วยการให้สร้างภาพตามจินตนาการโดยการลอกรูปร่างจากรูปทรงที่มีการนำเสนอ ซึ่งบริบทการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดมีการพัฒนาการคิดทางคณิตศาสตร์ด้วยการร่วมกันวางแผนชั้นเรียนโดยทีมการศึกษาชั้นเรียนมีเครื่องมือในการออกแบบบทเรียนด้วยหนังสือเรียนที่เน้นการแก้ปัญหาผ่านการวางแผนลำดับการสอนตาม 4 ขั้นตอนของวิธีการแบบเปิดที่เน้นแนวคิดของนักเรียน เมื่อนำแผนการจัดการเรียนรู้ลงสู่ชั้นเรียน พบว่า การพัฒนาการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง รูปร่างและรูปทรง ในบริบทการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด นักเรียนได้เรียนรู้จากการได้สังเกตและสัมผัสรูปทรงเพื่อจำแนกหรือจัดกลุ่มรูปทรงที่มีความคล้ายกัน เหมือนกันในลักษณะที่นักเรียนกำหนด จากนั้นนักเรียนได้พัฒนาการคิดในการเรียนรู้ลักษณะเฉพาะของรูปทรงต่างๆ และนำไปสู่การเรียนรู้รูปทรง 3 มิติ และรูปร่าง 2 มิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว.ฉบับที่ 1. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

เบญจวรรณ สุจริต. (2560). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. Academic Journal: UttaraditRajabhat University, 12(2), 53-65. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index. php/uruj/article/view/98903.

พิเชษฐ์ ภูมิพาณิชย์ และ คณะ. (2554). การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. รายงานการวิจัย.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น

วีระพล ทองมา และ ประเจต อำนาจ. (2547). ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวต่อประชาชนในพื้นที่ตำบนแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานผลการวิจัย), เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่.

World Economic Forum (WEF). (2019). ประเทศที่มีศักยภาพแข่งขันด้านธุรกิจท่องเที่ยวสูงที่สุดในโลก,สืบค้น 12 ตุลาคม 2562. จากhttps://forbesthailand.com/news/travel กรกฎาคม –กันยายน 2558. กรุงเทพมหานคร: สานักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.