การสร้างความผูกพันตามหลักพุทธธรรมต่อองค์กรของครู สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครู ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) พัฒนารูปแบบการสร้างความผูกพันตามหลักพุทธธรรมต่อองค์กรของครู สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครู ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านปัจจัยค้ำจุน; ความเป็นธรรมในการพิจารณาขั้นเดือน ไม่นำระบบการบริหารสถานศึกษามาใช้ในการบริหารงานภายในโรงเรียน ด้านจัดการ: การสร้างบรรยากาศในการทำงาน มีภาระงานนอกเหนือจากการสอนมากเกินไป ด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชา: มีการมอบหมายงานไม่ชัดเจน ความเป็นกันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา ด้านวัฒนธรรมองค์กร: มีการครอบงำความคิด ความตระหนักหรือการยอมรับวัฒนธรรมในองค์กร ด้านความผูกพันด้านบรรทัดฐาน : บุคลากรที่มีอายุมากมีประสบการณ์ในการทำงานย้ายไปหน่วยงานอื่น 2) การพัฒนารูปแบบการสร้างความผูกพันตามหลักพุทธธรรมต่อองค์กรของครู สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อยพบว่าด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
ปรัชญา วัฒนจัง, ความผูกพันต่อองค์กร : ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานบริษัทไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลท์ประกันชีวิต จำกัดมหาชน (กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,2549),9
สำนักการศึกษา, แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครการบริหารงานบุคคล (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา, 2554), 14.
สำนักการศึกษา, แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2563) (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด,2559), 23
สุภาวดี นพรุจจินดาม “องค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวง สาธารณสุข” (ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553),76.
ศรัณย์ พิมพ์ทอง, “ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์กรของพนักงาน มหาวิทยาลัยสายวิชาการในประเทศ,” วารสารบริหารธุรกิจ 37,142 (เมษายน-มิถุนายน 2557) 16-32