การบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักสาราณียธรรม 6 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา

Main Article Content

ปาลิดา นามเสนาะ
พระมหาพงษ์เทพ ปภากโร
ปณิดา สร้อยสาย

บทคัดย่อ

การบริหารสถานศึกษาในปัจจุบัน โดยเฉพาะด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เข้ากับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและสอดรับกับบริบทของสถานศึกษาในแต่ละแห่ง การบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเป็นการบริหารโดยให้บุคคลในองค์กรหรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการจัดการศึกษา ผู้ได้ทำงานเป็นทีม ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ความเชี่ยวชาญในการบริหารให้บรรลุวัตถุประสงค์  นำรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการคิดค้นปัญหา การวางแผน การจัดการทรัพยากร การตัดสินใจ การดำเนินงาน การติดตามและการประเมินผล ที่สอดแทรกหลักธรรมตามหลักสาราณียธรรม 6 มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา ประกอบไปด้วย 1) เมตตากายกรรม ตั้งเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ 2) เมตตาวจีกรรม ตั้งเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ 3) เมตตามโนกรรม ตั้งเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ 4) สาธารณโภคี ได้สิ่งของใดมาก็แบ่งปัน 5) สีลสามัญญตา มีศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ 6) ทิฏฐิสามัญญตา มีทิฏฐิดีงามเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย โดยเปิดโอกาสให้บุคคลหรือองค์กรต่างๆเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้การศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ลดความขัดแย้งภายในองค์กร และพัฒนางานที่ปฏิบัติให้มีคุณภาพสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กนกรัตน์ ทำจะดี. การศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้น

พื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๒. วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.๒๕๖๐

กมลชนก ศรีวรรณา. การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนลังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต ๒ (วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ๒๕๖๑

กานดา สิทธิแก้ว. การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการยกระดับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพสู่ระดับเพชร ของ

โรงเรียนบ้านลบคำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๓. วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ๒๕๕๙

กัญญาพัชร พงษ์ดี. กลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของไตรภาคีในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนใน

โรงเรียนพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ

เชียงราย. ๒๕๕๙

ธร สุนทรายุทธ, การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป, กรุงเทพมหานคร : เนติกุลการพิมพ์, ๒๕๕๑,

หน้า ๕๔๐.

ศฤงคาร ใจปันทา. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการมีงานทำ สำหรับนักเรียนที่มี

ความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วิทยานิพนธ์ศึกษา

ศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร. ๒๕๖๓

รวี จันทะนาม. รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนขนาดกลาง.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ

อุบลราชธานี. ๒๕๕๗

รัชนิดา นิลมณี. ความสัมพันธ์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๓. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร

มหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,(บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๕๔

หน้า ๒๔.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐. ราชกิจจานุเบกษา. ๒๕๖๐ หน้า ๑๕-๑๖.

วินัย ติสสงค์ และดวัลย์ มาศจรัส, การบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม, กรุงเทพมหานคร :ธารอักษร,

๒๕๕๐,หน้า ๔๙.

สามารถ มังสัง. สาราณียธรรม ๖ หลักการในการอยู่ร่วมกัน .ผู้จัดการรายวัน ข้อมูลออนไลน์ เข้าถึง

เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๕ https://mgronline.com/daily/detail/9620000029668

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๔.

กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.๒๕๕๙