การบำบัดความเครียดของคนวัยทำงานตามหลักพุทธธรรม

Main Article Content

อุทัย ภูมิประมาณ
นวลวรรณ พูนวสุพลฉัตร
ชัยชาญ ศรีหานู

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “การบำบัดความเครียดของคนวัยทำงานตามหลักพุทธธรรม”  มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความเครียดและแนวคิดการบำบัดความเครียดของคนวัยทำงาน  (2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมเพื่อการบำบัดความเครียดของคนวัยทำงานตามหลักพระพุทธศาสนา และ(3) เพื่อเสนอแนวทางการบำบัดภาวะความเครียดของคนวัยทำงานตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยค้นคว้าเชิงคุณภาพ (เอกสาร) โดยศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก เอกสารที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการศึกษา จากนั้นนำข้อมูลที่ได้สรุป ตรวจสอบ เรียบเรียงเขียนรายงานวิจัยเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ความเครียดเป็นสภาพความรู้สึกฟุ้งซ่าน อึดอัด คับข้องใจ ไม่มีความสุข ความเครียดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ 1) ความเครียดที่เกิดจากกายภาพ หรือสิ่งแวดล้อม และ 2) ความเครียดที่เกิดจากภายในคือ จิตใจ และส่งผลให้เกิดความเครียดโดยตรง ปัจจัยที่ก่อให้คนในวัยทำงานเกิดความเครียด คือ 1) ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม 2) ปัจจัยภายในองค์กร ได้แก่ ความเครียดจากการทํางาน, จากงานที่ได้รับมอบหมาย, และจากโครงสร้างองค์การ และ 3) ปัจจัยส่วนครอบครัว คนวัยทำงานมีแนวการบำบัดความเครียดแตกต่างกัน คือมีทั้งแง่บวก เช่นพยายามพัฒนาตัวเองเพิ่มขึ้น ออกกำลังกาย สวดมนต์ ทำสมาธิ เป็นต้น และแง่ลบ เช่นการดื่มสุรา เสพยาเสพติด ฆ่าตัวตาย  เป็นต้น หลักพุทธธรรมเพื่อการบำบัดความเครียดของคนวัยทำงาน ได้แก่ อริยสัจ 4 ไตรสิกขา ไตรลักษณ์ สติสัมปชัญญะ มหาสติปัฏฐาน 4 และสัปปุริสธรรม 7 แนวทางการบำบัดภาวะความเครียดของคนวัยทำงานตามหลักพุทธธรรม คือ 1) ใช้อริยสัจ 4, ไตรสิกขาและไตรลักษณ์ กับความเครียดจากปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม 2) ใช้ สติสัมปชัญญะ มหาสติปัฏฐาน 4 และสัปปุริสธรรม 7 กับความเครียดจากปัจจัยภายในองค์กร และ 3) ใช้ไตรลักษณ์ สติสัมปชัญญะ มหาสติปัฏฐาน 4 กับความเครียดจากปัจจัยส่วนครอบครัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จําลอง ดิษยวณิช และพริมเพรา ดิษยวณิช, ความเครียดความวิตกกังวลและสุขภาพ, (เชียงใหม่ : แสงศิลป์, ๒๕๔๕), หน้า ๑.

กุลธิดา สุภาคุณ, “การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความเครียด”, วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๓ (กันยายน – ธันวาคม ๒๕๕๕), หน้า ๕.

พรพรรณ ศรีโสภา, “บทบาทพยาบาลในการป้องกันและจัดการความเครียด”, บูรพาเวชสาร ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐), หน้า ๗๙.