ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อพิธีพุทธาภิเษก: กรณีศึกษาวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดบางชัน) เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระปลัดชนะศึก สนฺตจิตโต
พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนต่อพิธีพุทธาภิเษก กรณีศึกษา วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดบางชัน) เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของประชาชนต่อพิธีพุทธาภิเษก กรณีศึกษาวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดบางชัน) เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อทัศนคติของประชาชนที่มีต่อพิธีพุทธภิเษก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) คือ ประชาชนที่เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก จำนวน ๑,๐๐๐ คน และกลุ่มตัวอย่างที่ จำนวน ๒๗๘ คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการกรอกแบบสำรวจ ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนผู้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก มีทัศนคติโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = ๔.๐๖) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ประชาชนมีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ในพิธีพุทธาภิเษก ช่วยคุ้มครองรักษา ให้แคล้วคลาดจากอันตราย โดยเฉพาะวัตถุมงคลที่ได้เข้าพิธีพุทธาภิเษกพกติดตัวจะทำให้เกิดความโชคดี เป็นที่พึ่งทางใจอันประเสริฐ เมื่อเปรียบเทียบทัศนคติของประชาชนต่อพิธีพุทธาภิเษก โดยการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างตัวแปร จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ภูมิลำเนา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ประชาชนผู้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ภูมิลำเนา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกันมีทัศนคติแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ข้อเสนอแนะต่อทัศนคติของประชาชนที่มีต่อพิธีพุทธภิเษก พบว่า ๑) ได้สวดมนต์ในโรงพิธี ทำให้เกิดสิริมงคลแก่ตนเอง ได้รับกำลังใจ และสิ่งดี ๆ ในการดำเนินชีวิต ๒) การที่ได้นำวัตถุมงคลที่ตนเองเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกด้วย เป็นการเพิ่มอานุภาพ พลังให้วัตถุมงคล โดยเฉพาะวัตถุมงคลที่พกพาติดตัวเป็นประจำ ๓) การจัดการของวัดโดยรวมดีมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

เทพย์ สาริกบุตร. คัมภีร์พุทธมนต์โอสถ. กรุงเทพมหานคร: เจริญกิจ, ๒๕๒๖.

_________. พุทธาภิเษกพิธีฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๒๘.

พระครูวิสิฐกิจจารักษ์ (กฤษฎา รตนโชโต). “ศึกษาความเชื่อต่อแม่นาคพระโขนงในการบำเพ็ญบุญกุศลของประชาชนผู้เคารพบูชาในวัดมหาบุศย์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑.

พระมหาประศักดิ์ อคฺคปญฺโ (ชั่งแสง). “ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์กับกฎแห่งกรรมของชาวพุทธไทยในปัจจุบัน”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.

พระมหามนตรี วลฺลโภ (ป้อมสุข). “อิทธิพลของวัตถุมงคล ที่มีต่อสังคมไทยในปัจจุบัน”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๒.