การสร้างและพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยว โดยชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

วรากรณ์ พูลสวัสดิ์
นงนุช ยังรอด
ปิยนาถ อิ่มดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ ต้องการนำเสนอผลการวิจัยเรื่องการพัฒนาเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวนวัตวิถีกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในจังหวัดนครปฐมวัตถุประสงค์ที่สองเพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในจังหวัดนครปฐมและขับเคลื่อนแนวทางสู่การปฏิบัติโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูล  แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม โดยมีกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (workshop) เป็นเครื่องมือให้เกิดการมีส่วนร่วม และการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนชาติพันธุ์ลาวครั่งกับภาคีเครือข่ายนักวิชาการ นักธุรกิจ และผู้ประกอบการในพื้นที่ ผลการศึกษาดังกล่าวนำมาสรุปเป็นองค์ประกอบในการสร้างเครือข่ายและแผนเชิงบูรณาการ ซึ่งมีองค์ประกอบ 8 ด้านได้แก่1) ภาวะผู้นำ การทำงานของเครือข่ายที่ประสบผลสำเร็จ ต้องอาศัยผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ มีวิสัยทัศน์ มองการไกลเข้าใจศักยภาพของสมาชิก 2) ความร่วมมือระหว่างสมาชิกและกลุ่มเครือข่าย 3) การประสานงานของเครือข่าย4) การติดต่อสื่อสารระหว่างเครือข่าย 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่าย 6) การเชื่อมโยงกิจกรรมแบบบูรณาการ 7) ภูมิปัญญา ส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาเครือข่ายให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ และ 8) อัตลักษณ์ ประเพณีวัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งเป็นทุนทางสังคมของชาวลาวครั่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว.ฉบับที่ 1. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

เบญจวรรณ สุจริต. (2560). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. Academic Journal: UttaraditRajabhat University, 12(2), 53-65. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index. php/uruj/article/view/98903.

พิเชษฐ์ ภูมิพาณิชย์ และ คณะ. (2554). การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. รายงานการวิจัย.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น

วีระพล ทองมา และ ประเจต อำนาจ. (2547). ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวต่อประชาชนในพื้นที่ตำบนแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานผลการวิจัย), เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่.

World Economic Forum (WEF). (2019). ประเทศที่มีศักยภาพแข่งขันด้านธุรกิจท่องเที่ยวสูงที่สุดในโลก,สืบค้น 12 ตุลาคม 2562. จากhttps://forbesthailand.com/news/travel กรกฎาคม –กันยายน 2558. กรุงเทพมหานคร: สานักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.