แนวคิดทางคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด

Main Article Content

สันติ บรรเลง
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์
นฤมล ช่างศรีม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  จำนวน 16 คน ระเบียบวิธีวิจัยใช้วิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์โพรโทคอลที่ได้จากการถอดแถบเสียงและวีดิทัศน์ชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหา ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดทางคณิตศาสตร์ในระหว่างการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกันทีมการศึกษาชั้นเรียนพบว่ามีการคาดการณ์แนวคิดทางคณิตศาสตร์ 7 ประเภทจำนวน 5 คาบเรียนในขั้นตอนที่ 1) การวางแผนบทเรียนร่วมกัน (Plan)  และ ในขั้นตอนที่  2) การสังเกตการสอนร่วมกัน (Do)  โดยการใช้วิธีการแบบเปิด ในขั้นนี้พบ 7 ประเภทของแนวคิดทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ 2.1) แนวคิดทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการดำเนินการ 2.2) แนวคิดทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการเปรียบเทียบ 2.3) แนวคิดทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับกลุ่ม 2.4) แนวคิดทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับหน่วย 2.5) แนวคิดเกี่ยวกับอัลกอริทึม 2.6) แนวคิดทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับหลักการพื้นฐาน และแนวคิดทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับความคงทนของรูปแบบ 2.7) แนวคิดทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการเป็นแสดงแทนต่างๆและการแปลง ในขั้นตอนที่ 3 ) การสะท้อนผลร่วมกัน (See) ทีมการศึกษาชั้นเรียนสะท้อนผลเกี่ยวกับ การออกแบบสื่อมีความไม่ชัดเจนทำให้นักเรียนเกิดความสับสนแนวคิดทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับหน่วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ และคณะ. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในโรงเรียนโดยเน้น กระบวนการทางคณิตศาสตร์. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์. 2546.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. ขอนแก่น: เพ็ญปริ้นติ้ง จำกัด. 2557.

___________. เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดเพื่อยกระดับคูณภาพชั้นเรียน และการทำ kyozaikenkyu ในการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. ในกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการของบุคลากรโรงเรียนในโครงการพัฒนาการคิดขั้นสูงของนักเรียนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีงบประมาณ 2560, ระหว่างวันที่ 8–10 กรกฎาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (ผู้แปลและเรียบเรียง). หนังสือเรียนคณิตศาสตร์สำหรับระดับชั้นประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. 2554.

ประเวศ วสี (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ผลการประเมิน PISA 2012คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ นักเรียนรู้อะไร และทำอะไรได้บ้าง.กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2557.

Bevan, D., & Capraro, M. M. (2021). Posing creative problems: A study of elementary students’ mathematics understanding. International Electronic Journal of Mathematics Education, 16 (3), em0654

Freudenthal, H. Revisiting Mathematics Education. China Lectures. Dordrecht: Kluwer Academic Publishers, 1991.

___________. WEEDING AND SOWING Preface to a Science of Mathematical Education. Kluwer Academic Publishers. 1978.

Hiebert, J., & Carpenter, T. P . Theories of mathematical learning and understanding. Handbook of Research on Mathematics Teaching and Learning: A Project of the National Council of Teachers of Mathematics. 1992.

Inprasitha, M. One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand: Designing a Learning Unit. Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia, 9, 47- 66. 2011.

Kinard, J.T., & Kozulin, A. Rigorous mathematical thinking: Conceptual formation in the mathematics classroom. New York: Cambridge University Press.Leher, R. (2007). Development understanding of measurement. In J. Kilpatrick, W. G. Martin, & D. Schifter (Eds.), A research companion to principles and standard for school mathematics (pp.179-192). US: The National Council of Teachers of Mathematics. 2008.

Lundbäck, B., & Egerhag, H. Lesson Study as a bridge between two learning contexts. International Journal for Lesson & Learning Studies, 9(3), 289-299. doi: 10.1108/IJLLS-02-2020-0006, 2020.

Mangao, D. D., Ahmad, N. J., Isoda, M. SEAMEO Basic Education Standards (SEA-BES): Common Core Regional Learning Standards (CCRLS) in Mathematics and Science. SEAMEO RECSAM Penang, Malaysia. 2017.

Nohda, N. Teaching by open-approach method in Japanese mathematics classroom. In Proceedings of the Conference of the International Group for the Psychology of Mathematics Education (PME), Hiroshima, Japan, July 23-27, Volume 1, ERIC ED 466736, 2000.

Polya, G. How to solve it: A new aspect of mathematical method. Princeton University. 1945.

Reeves, S., Peller, J., Goldman, J., & Kitto, S. (2013). Ethnography in qualitative educational research: AMEE guide no. 80. Medical Teacher, 35(8), e1365-e1379. https://doi.org/10.3109/0142159X.2013.804977

Wood, T. An Emerging Practice of Teaching. In Paul Cobb, Heinrich Bauersfeld (editor). The Emergence of Mathematical Meaning: Interaction in Classroom Cultures. New York: Lawrence Erlbaum associates publishing. 1995.