ผู้สูงอายุ : แนวทางการปรับความสมดุลของชีวิตตามหลักพุทธบูรณาการ

Main Article Content

อำพล บุดดาสาร

บทคัดย่อ

บทความวิจัย เรื่องผู้สูงอายุ : แนวทางการปรับความสมดุลของชีวิตตามหลักพุทธบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของผู้สูงอายุ 2.เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของผู้สูงอายุ และ 3. เพื่อบูรณาการหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมเพื่อวิถีชีวิตที่มีความสุขของผู้สูงอายุ ใช้ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า วิถีชีวิตของผู้สูงอายุมีปัญหาเกิดขึ้นหลายด้านด้วยกัน กล่าวสรุปได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมและจิตวิทยา หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมสำหรับแก้ไขปัญหาและปรับความสมดุลเรื่องสุขภาพอนามัย ได้แก่ ไตรลักษณ์ อริยสัจ 4 ภาวนา 4 หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมสำหรับปรับความสมดุลด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์  สันโดษ 3 และหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมสำหรับแก้ไขปัญหาและปรับความสมดุลด้านสังคมและจิตวิทยา ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ 3 การบูรณาการหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมเพื่อปรับความสมดุลด้านสุขภาพอนามัย ได้แก่ การเข้าใจชีวิตตามความเป็นจริง มีศีลธรรมจรรยา รู้จักประมาณในการรับประทานอาหาร มีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ และดูแลรักษาร่างกายในยามเจ็บป่วย ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ความพอใจในสิ่งที่มี และละเว้นอบายมุข  ด้านสังคมและจิตวิทยา ได้แก่ ไม่หลงใหลไปตามโลกธรรม มีกัลยาณมิตรที่ดี หมั่นทำบุญให้ทาน ทำงานอยู่เสมอ อย่าเป็นทุกข์ล่วงหน้า อย่ายอมเป็นทาสของอดีต ทำใจให้สงบด้วยสมาธิและวิปัสสนา และต้อนรับสิ่งที่หนีไม่พ้นด้วยความสงบ องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ BMS MODEL กล่าวคือ การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุต้องประกอบด้วยความสุขกาย สบายใจ และไร้กังวล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุชาดา ทวีสิทธิ์. (2553). “การเปลี่ยนกระบวนทัศน์เพื่อการวิจัยผู้สูงอาย”. เอกสารวิชาการสถาบันวิจัย

ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม : สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม.

อรทัย อาจอ่ำ. (2553). “แก่แล้วไม่มีคุณค่าจริงหรือ?”. เอกสารวิชาการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม

มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม : สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม.

สัมภาษณ์ พระธรรมวิสุทธิกวี (เกษม สญฺญโต)

สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ดร. สิทธิ์ บุตรอินทร์

สัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์

สัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร. ผจญ คำชูสังข์