ผลของการจัดการเกษตรในพื้นที่วัดต่อคุณภาพชีวิตของชุมชน

Main Article Content

สมาพร เรืองสังข์
พระปัญญารัตนากร

บทคัดย่อ

วัดเป็นแหล่งถ่ายทอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จากคัมภีร์พระไตรปิฎกสู่ประชาชนโดยมีพระภิกษุเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการอบรมปลูกฝังศีลธรรมผ่านกิจกรรมตามวัฒนธรรมและประเพณี วัดบางแห่งมีกิจกรรมทางการเกษตรสำหรับสร้างรายได้และเป็นแหล่งอาหาร และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนด้วยการผลิตอาหารปลอดภัย จำหน่ายราคาไม่แพง และเป็นแหล่งจ้างงาน สร้างอาชีพ รวมถึงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยใช้ประโยชน์ที่ดินของวัดในการปลูกพืชผัก ไม้ยืนต้น และเลี้ยงสัตว์ ตามวิถีธรรมชาติ เช่น การทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ ซึ่งไม่ใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี แต่ใช้ปุ่ยน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยคอกแทน ทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพจิตแจ่มใส เกิดความสามัคคี ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน นอกจากนี้ชุมชนจะเข้มแข็งได้ ยังขึ้นอยู่กับทรัพย์สินทุนการดำรงชีพ ได้แก่ ทุนหรือทรัพยากรมนุษย์ ทุนทางธรรมชาติ ทุนทางสังคม ทุนทางกายภาพ และทุนทางการเงิน เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน หากชุมชนมีทุนเหล่านี้ในปริมาณมาก ยิ่งทำให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตดี มีความพร้อมในการพัฒนา ปัจจุบันมีวัดและสถานปฏิบัติธรรมหลายแห่งที่แบ่งพื้นที่ทำการเกษตร เพื่อเป้าหมายเป็นแหล่งอาหาร สร้างรายได้ และการเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางการเกษตร และมีกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จนเป็นที่รู้จัก เช่น วัดท้าวราษฎร์ วัดมะนาว วัดสวนแก้ว ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ดวงกมล โลหศรีสกุล. ทางรอด! วัดสวนแก้ว ขายผัก-ผลไม้ดีลิเวอรี่ เลี้ยงคนด้อยดอกาส สุนัขแมวจรจัด. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.sentangsedtee.com/ exclusive/article_145106, [7 สิงหาคม 2565].

เดช ยะมงคล, “การบูรณาการหลักพุทธธรรมสู่การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ”, วารสารปัญญา, ปีที่ 28 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2564.

เทคโนโลยีชาวบ้าน. วว. เปิดศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม พัฒนาวิสาหกิจชุมชนเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_56502, [7 สิงหาคม 2565].

พระมหาวัฒนา ปญฺญาทีโป, “รูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมสมัยใหม่ตามแนวเกษตรเชิงพุทธบูรณาการ”, วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2019)

พิไลวรรณ ประพฤติ, “การศึกษาความยั่งยืนของการดำรงชีพบนเกาะขนาดเล็กของชาวเลอูรักลาโว้ย: กรณีศึกษาเกาะหลีเป๊ะ ประเทศไทย”, ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน, (บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558.

พัชรพรรณ ยาโน “วิถีชีวิตกับการพัฒนาอาชีพของเกษตรกรแบบผสมผสานในจังหวัดชุมพร”, สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว, (บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2552) หน้า 95-107.

ศักดิ์พงศ์ หอมหวล, “พุทธเกษตรกร: นวัตกรรมเพื่อความอยู่รอดของสังคมเกษตรกรรม”,วารสารปัญญาปณิธาน, ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559) หน้า 1-6.

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. สุพรรณบุรี วัดมะนาว เปิดสวนพุทธเกษตร เป็นต้นแบบใช้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG210331152510957 [7 สิงหาคม 2565].

หทัยรัตน์ ชาญวิการณ์, “การพึ่งตนเองในรูปแบบพุทธเกษตรกรรมของชุมชนศาลีอโศก อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์”, สารนิพนธ์ พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558.

DFID. Sustainable Livelihoods Guidance Sheets. Department for International Development. [online]. Available at: www.livelihood.org/info/ info_ guidancesheets.htm. [27 October 2020].

Rakodi, C., “A Capital Asset Framework for Analyzing Household Livelihood Strategies: Implications for Policy”, Development Policy Review, volume1 number17 1999.