สังเคราะห์พุทธธรรมกับการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธตามพันธกิจของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ของคณะสงฆ์ไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงเอกสารนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธและเพื่อสังเคราะห์พุทธธรรมจากโครงการการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธตามพันธกิจหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ของคณะสงฆ์ไทย ใช้แนวคิดสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นกรอบในการศึกษา ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะของสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ เป็นคุณลักษณะที่ปรากฏอยู่ในหลัก 3 ไตร (ไตรสิกขา) ลักษณะแรก ได้แก่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ที่หมายถึงปัจจัย 4 และมนุษย์รวมถึงสัตว์ด้วย เรียกว่าการเสริมสร้างสุขภาวะในแดนแห่งศีลสิกขา ลักษณะที่สอง ได้แก่อาการภายในจิตใจ ซึ่งอยู่เบื้องหลังการที่มนุษย์จะปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เรียกว่าการเสริมสร้างสุขภาวะในแดนแห่งจิตสิกขา เพื่อมุ่งให้พัฒนาจิตให้มีคุณภาพ สมรรถภาพและคุณภาพ ลักษณะที่สาม เป็นเรื่องของความรู้เข้าใจในชีวิต ซึ่งผลสูงสุดคือหลุดพ้นจากปัญหา ดับทุกข์ได้ เรียกว่าการเสริมสร้างสุขภาวะในแดนแห่งปัญญา สำหรับหลักพุทธธรรมที่ใช้สังเคราะห์นั้นเริ่มจากการยึดหลักโอวาท 3 (โอวาทปาติโมกข์) และขยายไปสู่หลักธรรมย่อยที่สัมพันธ์กับพันธกิจทั้ง 8 ด้าน สามารถเรียกชุดความรู้นี้ได้ว่า “ 3 ไตร 3 โอวาท พัฒนา อ.ป.ต.”
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระครูอาทรวชิรกิจ (มานะ ฐานิสฺสโร), “การพัฒนาการจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ในจังหวัดกำแพงเพชร”, ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561), บทคัดย่อ.
พระสุธีรัตนบัณฑิต และคณะ, รายงานวิจัยโครงการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ของคณะสงฆ์ไทย, (นนทบุรี : นิติธรรมการพิมพ์, 2563).หน้า 18-20.
พระอธิการจรัล อภินันโท (สิงห์น้อย), “การปฏิบัติงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ของคณะสงฆ์ ในเขตอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555), บทคัดย่อ.
พินิจ ลาภธนานนท์, พุทธศาสนาเชิงปฏิบัติของคนไทยอีสาน : ศาสนาในความเป็นภูมิภาค, ผู้แปลและเรียบเรียง, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2554), หน้า124-127
มนัส ภาคภูมิ, “อ.ป.ต.ในวัด พ่อพระที่เกือบถูกลืมกับบทบาทของการอบรมพัฒนาชาวบ้าน”. [ออนไลน์] แหล่งที่มา: http://nadoon.msu.ac.th/~isan/isan7/cps6212.pdf. [9 ธันวาคม 2564].
ระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยการตั้งหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล พ.ศ.2518, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.watmoli.com/wittaya-one/1526/#_ftn1, [10 ธันวาคม 2564].
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ “อ.ป.ต.ศูนย์กลางชุมชน”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/352426/, [10 ธันวาคม 2564].
[ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.nptlocal.go.th/files/order/20161111133009cumep.pdf, [10 ธันวาคม 2564 ]