กระบวนการอุปัฏฐากภิกษุไข้ในพระไตรปิฎกและสังคมปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการอุปัฏฐากภิกษุไข้ในพระไตรปิฎกและสังคมปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (๑) เพื่อศึกษาการอุปัฏฐากภิกษุไข้ในพระไตรปิฎก (๒) เพื่อศึกษากระบวนการอุปัฏฐากภิกษุไข้ในสังคมปัจจุบัน (๓) เพื่อนำเสนอกระบวนการอุปัฏฐากภิกษุไข้ในพระไตรปิฎกและสังคมปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์และสัมภาษณ์บุคคลจำนวน ๑๐ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า หลักการอุปัฏฐากภิกษุไข้มี ๗ ประการคือ ๑) หลักอุปัชฌายวัตร ๒) หลักสัทธิวิหาริกวัตร ๓) หลักอาจาริยวัตร ๔) หลักอันเตวาสิกวัตร ๕) หลักภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌาย์ ๖) หลักภิกษุผู้ร่วมอาจารย์เดียวกัน และ ๗) หลักสงฆ์ ส่วนกระบวนการอุปัฏฐากภิกษุไข้ในพระไตรปิฎกและสังคมปัจจุบัน ได้แก่ ๑) กระบวนการดูแลสุขภาพภิกษุไข้ประกอบด้วย ๑. การดูแลความสะอาดร่างกายของภิกษุไข้ให้สะอาดอยู่เสมอ ๒. อนามัยสิ่งแวดล้อมและที่อยู่อาศัยของภิกษุไข้ให้มีความเพียงพอในปัจจัย ๔ คือ อาหารถูกลักษณะอนามัย เครื่องนุ่งห่มสะอาด ที่อยู่อาศัยมีอากาศถ่ายเทดี ยารักษาโรคเพียงพอแก่ความต้องการ ๓. การดูแลอารมณ์ของภิกษุไข้โดยการจัดการความเครียดด้วยสมาธิบำบัด ๔. การงดสูบบุหรี่ของภิกษุไข้ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งและโรคระบบทางเดินหายใจ ๒) กระบวนการรักษาพยาบาลภิกษุไข้ ประกอบด้วยยาและอาหารซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของภิกษุไข้ ให้มีความเพียงพอในปัจจัย ๔ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค มาสนับสนุนในรักษาพยาบาล ๓) กระบวนการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจภิกษุไข้ ประกอบด้วย ๑. ออกกำลังกายของภิกษุไข้ ด้วยการเดินจงกรม เดินบิณฑบาต มีการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงาน ส่งผลดีต่อสุขภาพกายและจิตโดยรวม ๒. การสวดมนต์ของภิกษุไข้ ส่งผลให้มีสุขภาพดีทั้งทางกายและทางใจ ๓. การเจริญสมาธิของภิกษุไข้ ระลึกรู้ตัวอยู่กับปัจจุบันทุก ๆ ขณะ ช่วยบรรเทาความทุกข์จากโรคให้เบาบางลงได้ด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงสาธารณสุข. สถิติการอาพาธของพระสงฆ์ที่มารับการตรวจรักษา พ.ศ. ๒๕๔๙. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์โรงพยาบาลสงฆ์. ๒๕๕๐.
เทวัญ ธานีรัตน์. “การแพทย์ทางเลือกคืออะไร”. วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก. ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๑.
ประเสริฐ อัสสันตชัย. คู่มือการดูแลสุขภาพพระสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มีเดียเพรส. ๒๕๕๕.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา. ๒๕๕๐.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย.๒๕๕๐.
พระราชสิทธิมุนี วิ. (บุญชิต ญาณสํวโร ป.ธ.๙). มารู้จักวิปัสสนากรรมฐานแบบพองหนอ-ยุบหนอสำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วรวิหาร. กรุงเทพมหานคร: สํานักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์. ๒๕๕๘.
พระวิชิต ธมฺมชิโต. การดูแลภิกษุอาพาธในโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: เครือข่ายพุทธิกา. ๒๕๖๐.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพมหานคร: บริษัท
ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน). ๒๕๕๖.
โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์. รายงานประจำปี ๒๕๖๒ โรงพยาบาลสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ. ๒๕๖๒.
โรงพยาบาลสงฆ์. รายงานประจำปี ๒๕๖๒ โรงพยาบาลสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: กรมการแพทย์.๒๕๖๒.