การบริโภคสื่อออนไลน์ด้วยพุทธปัญญาบูรณาการ

Main Article Content

กมลรัตน์ ต่ายลีลาศ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย/ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การบริโภคสื่อออนไลน์ด้วยพุทธปัญญาบูรณาการ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสื่อออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาพุทธปัญญาที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคสื่อออนไลน์ 3) เพื่อบูรณาการการบริโภคสื่อออนไลน์ด้วยพุทธปัญญา 4) เพื่อนําเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “การบริโภคสื่อออนไลน์ด้วยพุทธปัญญาบูรณาการ” ผลการวิจัยพบว่า  1. พฤติกรรมการบริโภคสื่อออนไลน์ จากการประยุกต์ใช้แนวทางในการบริโภคสื่อออนไลน์ของ Renee Hobbs ว่าด้วยแนวทางในการบริโภคสื่อออนไลน์อย่างรู้เท่าทัน ร่วมกับปัญหาและแนวทางการแก้ใขการบริโภคสื่อออนไลน์ สามารถแบ่งออกมาเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเข้าถึงสื่อ 2) ด้านการวิเคราะห์สื่อ 3) ด้านการสะท้อนสื่อ และ 4) ด้านการประเมินสื่อ 2. หลักพุทธปัญญาที่นำมาส่งเสริมและแก้ใขปัญหาในการบริโภคสื่อออนไลน์ในสังคมไทย 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการเข้าถึงสื่อ ใช้หลักพุทธปัญญา คือ หลักสัมมาสติ หลักสัมมาสมาธิ และหลักอินทรียสังวร 2) ด้านการวิเคราะห์สื่อ ใช้หลักพุทธปัญญา คือ หลักกาลามสูตร 3) ด้านการสะท้อนสื่อ ใช้หลักพุทธปัญญา คือ หลักสัมมาวาจา และ 4) ด้านการประเมินสื่อ ใช้หลักพุทธปัญญา คือ หลักโยนิโสมนสิการ 3. เมื่อนำหลักพุทธปัญญาที่เหมาะสมมาบูรณาการเพื่อส่งเสริมและแก้ใขปัญหาการบริโภคสื่อออนไลน์ในแต่ละด้าน ทั้ง 4 ด้าน ทำให้เกิดคุณสมบัติคือ เป็นผู้การตั้งใจในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ มีการวิเคราะห์ด้วยปัญญา ปฏิสัมพันธ์ด้วยความสุภาพ และ มีการประเมินที่แท้จริง
4. องค์ความรู้ที่ได้เกี่ยวจากการวิจัยเกี่ยวกับ การบริโภคสื่อออนไลน์ด้วยพุทธปัญญาบูรณาการ คือ AWPS MODEL A = Attention Access หมายถึง การตั้งใจในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ กำหนดเป้าหมายก่อนเข้าใช้งาน ไม่คล้อยไปตามอารมณ์สื่อระหว่างใช้ และตั้งใจจนจบการใช้งาน W = Wisdom Analysis หมายถึง การวิเคราะห์ด้วยปัญญา ในเนื้อหาสื่อด้วยความรู้ ประสบการณ์ ในข้อเท็จจริง คุณค่า ประโยชน์ที่ปรากฏในสื่อตามความเป็นจริงตามสภาวธรรม P = Polite Interaction หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ด้วยความสุภาพต่อกันในสังคมสื่อออนไลน์ มีการแชร์เนื้อหาสื่อ การแสดงความคิดเห็นในเชิงบวก S = Substantive Rate หมายถึง การประเมินที่แท้จริงต่อเนื้อหาความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง คุณค่า ผลกระทบ ข้อดีข้อเสียของสื่อออนไลน์ก่อนนำไปใช้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, “สรุปสาระสำคัญจากเสวนาวิชาการ หัวข้อ ปัญหาโลก (ออนไลน์) แตก การคุกคามทางเพศบนโซเชียลมีเดีย,” 21 ตุลาคม 2564 < https://www. law.tu.ac.th/seminar-summary-online-sexual-harassment/> (25 July. 2564)

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต), คำสอนเป็นกลาง ปฏิบัติสายกลาง, ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพคุรุสภาลาดพร้าว, 2539.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต), วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. พิมพ์แยกเล่มเฉพาะบท ครั้งที่ 24 - เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2556.

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์, สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต, วารสารนักบริหาร, 4 (1), 99-103. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

มาตรา 14 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560.

วิโรจน์ ชัยมูล และสุพรรษา ยวงทอง, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ, กรุงเทพมหานคร : บริษัท โปรวิชั่น จำกัด, 2558.

ศิวัช จันทนาสุภาภรณ์, พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ, กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาเอกระบบสารสนเทศคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร, 2554.

สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย, “CYBERBULLYING ภัยบนโลกออนไลน์ ทำร้ายวัยรุ่นได้ง่ายกว่าที่คิด,” 27 กุมภาพันธ์ 2564 < https://stopbullying. ovecarestation.com/cyberbullying > (25 July. 2564)

สถาพร สิงหะ, สื่อใหม่, กรุงเทพมมหานคร : โรงพิมพ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, “Fake News ลวงให้เชื่อ หลอกให้แชร์,” 30 ตุลาคม 2563 <https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/knowledge-sharing/ articles/IFBL/FakeNews.aspx> (25 July. 2564)