กระบวนทรรศน์ของชาดก: ผู้นำทางการปกครอง

Main Article Content

พงษ์เทพ ล้อประเสริฐ
สุภาภรณ์ ศรีดี
หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล

บทคัดย่อ

บทความนี้ซึ่งเป็นบทความวิชาการ เรื่องกระบวนทรรศน์ของชาดก: ผู้นำทางการปกครองพบว่า การปกครอง คือ การบริหาร การวางระเบียบกฎเกณฑ์ การจัดทำกฎหมายเพื่อบังคับใช้ การดูแลการให้ความคุ้มครอง การปกครองแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เผด็จการ และประชาธิปไตย  ชาดก เป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ การปกครองในคัมภีร์ชาดก คือ เผด็จการแบบอำนาจนิยม โดยคำนึงถึงเสียงของประชาชน และยึดถือธรรม ความถูกต้อง ความดีงามเป็นหลัก ให้ความสำคัญแก่ผู้ปกครองมากกว่าระบบการปกครอง คือ ผู้ปกครองต้องประกอบไปด้วยธรรมและปัญญา เพราะผู้นำทางการปกครอง กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติมีความสัมพันธ์กัน ถ้าผู้นำทางการปกครองมีคุณธรรมเหตุการณ์ที่เลวร้ายย่อมไม่เกิดขึ้น ผู้นำทางการปกครองต้องแบบอย่างที่ดีในการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ตนได้อาศัย กล้าตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน มีความรอบรู้ รอบคอบ มีสติในการพิจารณา ไม่ตื่นข่าวลือ และผู้นำทางการปกครองนี้เองเป็นผู้ทำการประสานระหว่างความผาสุกมั่งคั่งของบ้านเมืองกับอำนาจที่มองไม่เห็น ความรับผิดชอบ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏก. 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2506.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

ครองแผ่นดินโดยธรรม. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th.

สุขุม นวลสกุล. การเมืองและการปกครองของไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง,

มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, พจนานุกรมบาลี – ไทย ฉบับภูมิพโลภิกขุ พิมพ์เพื่อน้อมเกล้าถวายเป็นพระ

ราชกุศลแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ วันที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2535, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, 2547.

สุภัค มหาวรากร และพฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ, “การสร้างสรรค์นิทานชาดกในการ์ตูนชุด “นิทานโชคดี”,

รายงานผลการวิจัย, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2557.