ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4 : การส่งเสริมงานพุทธศิลป์

Main Article Content

ปราโมทย์ เมืองสังข์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นบทความวิชาการเรื่อง ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4 :การส่งเสริ พุทธศิลป์ พบว่า พุทธศิลป์เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงศิลปะผสมผสานเข้ากับพระพุทธศาสนา สะท้อนออกมาเป็นสิ่งกอสร้าง ในรูปแบบสิ่งปลูกสร้างภายในวัด เช่น อุโบสถ วิหาร เจดีย์ กุฏิ ศาลา เป็นต้น พุทธศิลป์เป็นวัฒนธรรม เป็นคำสอนของคุณธรรม จริยธรรมผ่านศิลปะ พุทธศิลป์มีคุณค่าและประโยชน์ควรรักษา พุทธศิลป์เป็นทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ 1) พุทธศิลป์ เป็นอุฏฐานสัมปทา เป็นมรดกแห่งสังคมที่ควรรักษาและพัฒนา เป็นวัฒนธรรมด้านศาสนาและวิถีปฏิบัติของคนในสังคม เป็นสัญลักษณ์แห่งการรับรู้ เป็นคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ให้แก่คนในสังคม 2) พุทธศิลป์ เป็น อารักขสัมปทา เป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่คู่กับวัดในพุทธศาสนามาโดยตลอด เป็นสื่อธรรมะที่สำคัญที่ใช้สอนคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้คนได้เป็นอย่างดี มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมไทย 3) พุทธศิลป์ เป็นกัลยาณมิตตตา เป็นพื้นฐานสำคัญของสังคมไทยทำหน้าที่คล้ายขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ความประทับใจ และเห็นคุณค่า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถสร้างความมั่นคงของชาติ สร้างอุดมการณ์ของชาติได้ 4) พุทธศิลป์ เป็นสมชีวิตา เป็นศิลปะเพื่อความรู้ ความเข้าใจในธรรมชาติ และชีวิต เป็นคำสอนตามแนวพุทธศาสนา พุทธปรัชญา และพุทธธรรม สัจธรรม จริยธรรม กฎธรรมชาติ แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในทางที่เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม


การส่งเสริมพุทธศิลป์ตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรู้จักขยันหมั่นเพียร (อุฏฐานสัมปทา) และรู้จักเก็บรักษา (อารักขสัมปทา) รู้จักใช้สอย รู้ประโยชน์ของสิ่งที่มีอยู่ (กัลยาณมิตตตา) และใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแต่สิ่งนั้นไม่เสื่อมไป ความมุ่งมั่นขยัน จะเป็นต้นแบบที่ดี (สมชีวิตา) และในฐานะคนรุ่นหลัง หรือผู้สืบทอดศีลปะวัฒนธรรมและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาต้องรู้จักใช้ประโยชน์ รู้จักดูแลรักษาสิ่งสาธารณะประโชน์ที่มิใช่ส่วนตน เป็นการสร้างโอกาสให้ตนเองมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นประโยชน์ส่วนรวม สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศชาติ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. วิวัฒนาการพุทธสถานไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด,

โกสุม สายใจ. พุทธศิลป์กับการจัดการความรู้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. ปีที่ 3 ฉบับที่ 1.กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2560.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.

กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2551.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏก. 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2506.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

สมชาติ มณีโชติ. จิตรกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2564.

อภัย นาคคง. ความรู้เบื้องต้นวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ. กรุงเทพมหานคร: ท.วัฒนาการพิมพ์,