วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสติและสัมปชัญญะ เพื่อการปฏิบัติกรรมฐาน ในพระไตรปิฎก

Main Article Content

Thanee Suwannaprateep
พระอธิการประกาสิทธิ์ สุจิณฺโณ (กลิ่นชื่น)
วิโรจน์ คุ้มครอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสติและสัมปชัญญะ เพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระไตรปิฎก โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความหมายและความสำคัญของสติและสัมปชัญญะในพระไตรปิฎก 2) เพื่อศึกษากรรมฐานในพระไตรปิฎก
3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสติและสัมปชัญญะเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระไตรปิฎก การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร การศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสติและสัมปชัญญะเพื่อการปฏิบัติกรรมฐาน โดยผู้วิจัยแบ่งขอบเขตของการวิจัย เป็นสองส่วน คือ ขอบเขตด้านเอกสาร เพื่อกำหนดเอาเอกสารที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ และขอบเขตด้าน เนื้อหา เพื่อกำหนดเนื้อหาประเด็นต่าง ๆ โดยศึกษาจากข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สติและสัมปชัญญะ หมายถึง ความระลึกได้ และการรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ ทั้งในขณะคิด ขณะพูด และในขณะที่กระทำ ว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ โดยมิให้ความคิด และการกระทำนั้นๆ ตกอยู่ภายใต้ความประมาทมัวเมา สติและสัมปชัญญะเป็นเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับจิต ดับพร้อมกันกับจิต มีอารมณ์อันเดียวกันกับจิต อาศัยจิตเกิดขึ้น การปฏิบัติกรรมฐาน สติและสัมปชัญญะจะเกิดขึ้นร่วมกัน ในขณะที่มีการกำหนดรู้เพื่อปฏิบัติสมถกรรมฐาน สติจะเกิดขึ้นเป็นประธานในสภาวธรรม ทำหน้าที่ช่วยประคับประคองจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว เพื่อเป็นฐานในการยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา สัมปชัญญะ (ปัญญา) ทำหน้าที่พิจารณารูปนามอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะปัจจุบันอารมณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาไตรป ฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

อรรถกถาภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.

อรรถกถาภาษาไทย ฉบับจุฬาอฏฺ กถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ

ราชวิทยาลัย, 2539.

ฎีกาปกรณวิเสสภาษาไทย ฉบับจุฬามหาฎีกา.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ

ราชวิทยาลัย, 2539.

ปกรณวิเสสภาษาไทย ฉบับจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, 2539.

พระราชวรมุนี และคณะ.วิมุตติมรรค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เคล็ดไทย}2538.

พระพุทธโฆสเถระ. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรสจำกัด, 2556.

วิสุทธิมรรค ฉบับ สมเด็จพระพุฒาจารย์(อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง, พิมพ์ ครั้งที่ 10. กรุงเทพ: บริษัท ธนาเพลส จำกัด, พ.ศ. 2554

พระญาณธชะ, ปรมัตถทีปนี, แปลโดยพระคันธสาราภิวงศ์, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยรายวัน การพิมพ์, 2549.

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ 9 เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 3, มูลนิธิ

สัทธัมมโชติกะ, 2525.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) , พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ศัพท์วิเคราะห์, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, 2550.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

พระธรรมวโรดม (บุญมาคุณสมฺปนฺโน, ป.ธ.9), อภิธัมมัตถวิภาวินีแปล, พิมพ์ครั้งที่ 1, กาญจนบุรี: ม.ป.ท., 2550).

ไว้ท์ลินินบุ๊คส์ (White Linen Books). มิลินทปัญหาฉบับธรรมทาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซาเร็นการพิมพ์ จำกัด, 2552.

พรทิพา กุฎูชุมพินานนท์, “การศึกษาวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนาและการพัฒนาคน”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสนาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2551.