จริยธรรมกับการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา “จริยธรรมกับการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา” พบว่า การจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน เป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียนสนใจจนทำให้เกิดจิตสำนึกและรู้จักหน้าที่ของตนเอง ครูผู้สอนควรมีการใช้สื่อที่ทันสมัยหลากหลายเข้าใจง่าย จูงใจให้ผู้เรียนสนใจ ใฝ่รู้ จนเกิดทักษะ เพื่อพัฒนาผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รูปแบบของการเรียนการสอนตามหลักจริยธรรมที่ผู้เรียนสามารถพัฒนาความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และพฤติกรรม ตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา คือ หลักไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา) โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมบูรณาการกับหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ 1) พัฒนาการทางด้านกาย (กายภาวนา) 2)พัฒนาการทางด้านสังคม (สีลภาวนา) 3) พัฒนาการทางจิต (จิตภาวนา) และ 3) พัฒนาการทางด้านปัญญา (ปัญญาภาวนา) โดยการเน้นเกิดความสามัคคี มีเมตตากรุณาต่อกัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน อันเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ตามศักยภาพของตนเอง มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง และมีวินัยปฏิบัติตนตามหลักจริยธรรมทางพระพุทธศาสนา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์.
กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา. (2539). เมืองไทยในความใฝ่ฝันของนักคิดอาวุโส. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ]. 2539. รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์.
คำสอนพ่อ. (2549). ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับความสุขในการดำเนินชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2523). จิตวิทยาการปลูกฝังวินัยแห่งตน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ถาวร สารวิทย์. (2523). การบริหารอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม, (พิษณุโลก : แผนก. เอกสารการพิมพ์มหาวิทยาลัยศรินทรวิโรฒพิษณุโลก.
ธีรยุทธ พึ่งเทียร. รศ.ดร. (2557). คู่มือการพัฒนาวิชาชีพครู. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พจนา ทรัพย์สมาน. (2550). การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. แห่งชาติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2543). ความคิด แหล่งสำคัญของการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ปยุตฺโต). (2530). ทางสายกลางของการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พรินติ้งกรุ๊ฟ.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2548). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ ออฟเคอร์มีสท์.
พิพัฒน์ วิเชียรสุวรรณ. (2540). แผนการศึกษาแห่งชาติแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร:เดอะบุคส์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เล่มที่ 11 กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยุพิน พิพิธกุล และอรพรรณ ตันบรรจง. (ม.ป.ท.). เทคโนโลยีในการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :
ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (2543). เทคนิคการสอน. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วันเพ็ญ จันทร์เจริญ. (2542). การเรียนการสอนปัจจุบัน. สกลนคร: คณะครุศาสตร์สถาบันราชภัฏสกลนคร.
สุคนธ์ ภูริเวทย์. (2544). การออกแบบการสอน Instructional design. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุวิทย์ มูลคำ. (2541). ครบเครื่องเรื่องวิทยากร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ตวงกมลสมัย.
อำนาจ บัวศิริ. (2561). กระบวนการสร้างภาวะผู้นำด้วยหลักไตรสิกขา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 5 (3). 26-27