แนวทางการสาธยายพระพุทธมนต์ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม ของวัดคลองตาลอง ตำบปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “แนวทางการสาธขายพระพุทธมนต์ส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของวัดคลองตาลอง ตำบปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้านเอกสารมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาการสาธยายพระพุทธมนต์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติธรรมของวัดคลองตาลอง ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการสาธยายพระพุทธมนต์เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของวัดคลองตาลอง ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ผลการวิจัยพบว่า การสาธยายพระพุทธมนต์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท คือการท่อง การสวด การทบทวน โดยสาธยายตามที่ได้ฟัง ได้เรียน และตรึกตรอง ทำให้ได้อรรถรสที่มีความหมายเข้าใจได้อย่างชัดเจน ในพระสัทธรรมพระพุทธวจนะที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ด้วยภาษาบาลี และแปล แล้วเปล่งเสียงตามภาษาของตน ๆ แบบไม่ให้มีอักขระวิบัติ โดยวิธีเปล่งเสียง 5 วิธี คือ 1) สาธยายในใจ 2) สาธยายแบบร่ายมนต์ 3) สาธยายแบบมีเสียงแผ่วเบา 4) สาธยายดังพอได้ยินไม่เกิน 10 เมตร 5) สาธยายเสียงดังได้ยินไม่น้อยกว่า 10 เมตร ในที่นี้จะสาธยายเฉพาะ 12 พระสูตรที่มีใน 12 ตำนาน ซึ่งปรากฏในคัมภรีร์พระสุตตันตปิฎก คือ 1) มังคลสูตร 2) รัตนสูตร 3) เมตตสูตร 4) ขันธสูตร 5) โมรสูตร 6) วัฏฎกสูตร 7) อาฏานาฏิยสูตร 8) อังคุลิมาลสูตร 9) โพชฌังคสูตร 10) อภยสูตร 11) ธชัคคสูตร 12) ชยสูตร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
กระทรวงศึกษาธิการ กรมการศาสนา, ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 17, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศาสนา, 2542.