การนิเทศการศึกษาตามหลักธรรมสังคหวัตถุ 4

Main Article Content

Arunrat Satsagul

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นเรื่องการนิเทศการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการในการปรับปรุงการเรียนการสอนและกระตุ้นความเจริญก้าวหน้าของครู เพื่อส่งผลต่อการศึกษา มุ่งเน้นให้ครูปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนพฤติกรรมของครูนั้นย่อมส่งผลถึงนักเรียนด้วย จุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษาเป็นไปเพื่อช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม อบรมให้ความรู้แก่ครู เพื่อนำไปพัฒนางานในวิชาชีพตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อดำเนินการนิเทศตามหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ซึ่งเป็นการสงเคราะห์ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล เพื่อสมานไมตรีกันทางพุทธศาสนาเพื่อเป็นการฝึกอบรมพัฒนาชีวิต จิตใจให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยการให้ การพูดจาที่ดี มีวาจาเป็นที่รัก การประพฤตตนเป็นประโยชน์ การวางตนสม่ำเสมอ หลักธรรมนี้จะทำให้การนิเทศการศึกษาดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีหลักการในการดำเนินการนิเทศอยู่บนพื้นฐานสัมพันธ์ภาพแห่งการร่วมคิด ร่วมทำ พึ่งพา ช่วยเหลือ ชี้แนะนำพาด้วยคุณธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน มีความเอื้อเฟื้อแบ่งปัน พูดจาแนะนำกันด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน ยอมรับความคิดเห็นกันระหว่างผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศ และมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลายโดยซึ่งกันและกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Cogan, M. (1995). Clinical supervision. Boston: Houghton Mifflin.

Glatthorn, Allan A. (1984). Differentiated supervision. Washington D.C.: Association for Supervision and Curriculum Development.

Glickman, C.D. Gordon, S.P. and Ross-Goedon. (1995). Supervision of instruction : Developmental approach. Massachusetts: Allyn and Bacon.

Glickman. (2009). Supervision and instructional leadership : A developmental approach. (8th ed.). Boston : Allyn and Bacon.

จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: โรงพิมพ์รัตนสุวรรณ.

นันทณัฏฐ์ น้อยเหลือ. (2551). การติดตามผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบร่วมมือประสานใจสำหรับครูระดับปฐมวัย ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี, ลพบุรี.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สิริกร คำมูล. (2556). การพัฒนารูปแบบการนิเทศสำหรับโณงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร

สุภาภรณ์ กิตติรัชดานนท์. (2551). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2547), กัลยาณมิตรนิเทศ. กรุงเทพฯ: ดับบลิว.เจ.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2545). การนิเทศภายในหัวใจของการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียน. วารสารวิชาการ,5(8), 25-31.

ไสว มาลาทอง. (2552). คู่มือการดำเนินงานเสริมสร้างศีลธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.