บูรณาการการสอนผู้ขอบรรพชาอุปสมบทของพระอุปัชฌาย์ ด้วยตจปัญจกกรรมฐาน

Main Article Content

พระครูวิศิษฏ์สรการ
อุทัย สติมั่น

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “บูรณาการการสอนผู้ขอบรรพชาอุปสมบทของพระอุปัชฌาย์ด้วยตจปัญจกกรรมฐาน”  มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ  (1) เพื่อศึกษาตจปัญจกกรรมฐานในพุทธศาสนาเถรวาท  (2)  เพื่อศึกษาบทบาทของพระอุปัชฌาย์กับการสอนตจปัญจกกรรมฐานแก่ภิกษุผู้บวชใหม่ (3) เพื่อศึกษาการบูรณาการการสอนผู้ขอบรรพชาอุปสมบทของพระอุปัชฌาย์ด้วยตจปัญจกกรรมฐาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์บุคคล ผลการวิจัยพบว่า บูรณาการการสอนผู้ขอบรรพชาอุปสมบทของพระอุปัชฌาย์ด้วยตจปัญจกกรรมฐาน โดยพระอุปัชฌาย์จะเริ่มในช่วงที่กุลบุตรเปล่งคำขอบรรพชาอุปสมบทเป็นที่เรียบร้อยแล้วพึงกล่าวกับผู้ที่จะบวชว่า เธอจงตั้งใจเรียนตจปัญจกกรรมฐานอันเป็นอุบายสำหรับให้ภิกษุใหม่เกิดสมาธิได้เพื่อเป็นที่ตั้งของปัญญาต่อไปบอกทีละบทว่า 1) เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ โดยอนุโลม 2) ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา โดยปฏิโลม เพราะการพิจารณาเช่นนั้น เป็นเหตุให้ละความกำหนัดยินดีได้ ส่วนการบูรณาการการสอนตจปัญจกกรรมฐานของภิกษุผู้บวชใหม่ คือ ต้องพิจารณาผม พิจารณาขน พิจารณาเล็บพิจารณาฟัน พิจารณาหนัง โดยความเป็นของไม่งามปฏิกูล เป็นรังของโรค เมื่อภิกษุผู้บวชใหม่ปฏิบัติตามหลักตจปัญจกกรรมฐานหรือมูลกรรมฐานในเบื้องต้นก็จะเป็นทางสู่มรรค ผล และพระนิพพานในที่สุด โดยพระอุปัชฌาย์จะต้องพร่ำสอนว่า ตจปัญจกกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่เป็นมูล เป็นกรรมฐานที่เป็นรากเหง้าของกรรมฐานทั้งปวง เป็นกรรมฐานที่ระงับกามราคะได้ และเป็นกรรมฐานที่ทำราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้บวชใหม่ให้เบาบางลงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.

_________.พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

พระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร), สมถะวิปัสสนาจากพระไตรปิฎก, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สัมปชัญญะ, 2556.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 16, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด, 2554.

พระพุทธโฆสเถระ รจนา, คัมภีร์วิสุทธิมรรค, พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด, 2554.

พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล, การบริหารวัด, กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย, 2539.

พระราชพรหมยาน ( พระมหาวีระ ถาวโร ), กรรมฐาน 40, กรุงเทพมหานคร : เยลโล่การพิมพ์, 2538.

พระอุปติสสเถระ รจนา, คัมภีร์วิมุตติมรรค, แปลโดย พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต และคณะ), พิมพ์ครั้งที่ 5, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม บริษัทเคล็ดไทย จำกัด, 2541.

ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, กรุงเทพมหานคร: บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด , 2546.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก, ธรรมอบรมจิต, กรุงเทพมหานคร: ก้อนเมฆแอนด์กันย์กรุ๊ป, 2549.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร), คัมภีร์วิสุทธิมรรค, พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด, 2554.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 41, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, 2561.

สุรีย์ มีผลกิจ, พระพุทธกิจ 45 พรรษา, พิมพ์ครั้งที่ 9 , กรุงเทพมหานคร: บริษัท คอมฟอร์ม จำกัด, 2560.