อิทธิบาท 4 : ความรับผิดชอบ

Main Article Content

สุธีร์ เครือวรรณ์

บทคัดย่อ

ความรับผิดชอบ เป็นลักษณะพลเมืองดี เป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่น การเอาใจใส่ รู้จักหน้าที่ ความรับผิดชอบ เป็นคุณลักษณะที่จำเป็นต้องปลูกฝัง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้สังคม       เป็นระเบียบและสงบสุข การพัฒนาความรับผิดชอบควรพัฒนาให้ครบถ้วนทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความรู้ ความคิด และสติปัญญา  อิทธิบาท 4 หมายถึง ธรรมที่เป็นเครื่องให้ความสำเร็จด้วยดี การกระทำให้แจ้ง หรือการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความพอใจ ด้วยใจรัก ด้วยความพากเพียร ความขยันขันแข็ง ความเอาใจใส่ ด้วยใจจดจ่อ ใช้ปัญญาไต่ตรอง ใคร่ครวญอยู่เสมอ จนเป็นนิสัย โดยไม่รู้สึกตัว ซึ่งประกอบด้วยฉันทะ (ความพอใจ) วิริยะ (ความเพียร) จิตตะ (ความคิด) และวิมังสา (ความไตร่ตรอง) ความรับผิดชอบตามหลักอิทธิบาท 4 ได้แก่ 1)ความรับผิดชอบต่อครอบครัว คือ การช่วยครอบครัวประหยัดไฟฟ้า น้ำ อาหาร สิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน เคารพเชื่อฟังบิดามารดา แบ่งเบาภาระของบิดามารดาอยู่เสมอ 2) ความรับผิดชอบต่อสถานศึกษา คือ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษาด้วยความเต็มใจ เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน 3) ความรับผิดชอบต่อสังคม คือ การรู้จักพอใจฐานะและหน้าที่ความรับผิดชอบของตนที่มีต่อสังคม รัก ภาคภูมิใจต่อท้องถิ่นของตนเอง เต็มใจสืบสาน ศิลปวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นมิให้สูญหาย ช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาและเผยแผ่หลักธรรม     ทางศาสนากับชุมชนและท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการศาสนา. คู่มือการศึกษาจริยธรรมระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การ

ศาสนา, 2565.

กรมการศาสนา. กองศาสนาศึกษาแนะแนวการปฏิบัติตามคุณธรรม 4 ประการ และการปฏิบัติ

ตามค่านิยม 5 ประการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา ,2563.

กรมการศาสนา. คู่มือการศึกษาจริยธรรมระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การ

ศาสนา, 2565.

กรมสามัญศึกษา. หน่วยศึกษานิเทศก์. ชุดการสอนการปลูกฝังและการสร้างค่านิยมพื้นฐานเรื่อง

ความรับผิดชอบ. กรุงเทพมหานคร: จงเจริญการพิมพ์, 2562.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ. จอมปราชญ์นักการศึกษา สังเคราะห์วิเคราะห์และประยุกต์

พระราชดำรัสด้านการศึกษาและการพัฒนาคน .กรุงเทพมหานคร: ซัคเซสมีเดีย,

ฉันทนา รัตนแสน. ความรับผิดชอบสำคัญอย่างไร. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:

https://www.gotoknow.org

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏก. 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2506.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

พุทธทาสภิกขุ. การเสริมสร้างจริยธรรมแก่เด็กวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: สมชายการพิมพ์, 2561.

พระเมธีธรรมาภรณ์. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). พุทธศาสนากับปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอัมริ

นทร์พริ้นติ้งกรุ๊ปจำกัด, 2563.

ประเทิน มหาขันธ์. สอนเด็กให้มีความรับผิดชอบ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, 2563.

พระธรรมปิฎก. การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, 2560.

พระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิติญาโน. พระอภิธรรมปิฎก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย, 2564.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์

ลักษณ์, 2555.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลง

กรณราชวิทยาลัย, 2546.

พิทูร มลิวัลย์. แบบเรียนวิชาธรรมและนักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา, 2564.

พุทธทาสภิกขุ. การงานที่เป็นสุข. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสภา, 2549. หน้า 30.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .กรุงเทพมหานคร: บริษัทนานมีบุ๊คพับ

ลิเคชันจำกัด, 2542.

วิเชียร ชาบุตรบุณฑริก. พุทธศาสน์. กรุงเทพมหานคร: โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2564).

สนอง วรอุไร. ทำชีวิตให้ได้ดีและมีสุข. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อัมรินทร์, 2560.

สุขุม เฉลยทรัพย์. เด็กไทย 2022 ในสายตาประชาชน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:

https://siamrath.co.th.

แสงอรุณ โปร่งธุระ. พุทธศาสน์. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายเอกสารตารา สำนักส่งเสริมวิชาการ

สถาบันราชภัฏธนบุรี, 2564.