รูปแบบการเจริญสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพของสำนักปฏิบัติธรรม วัดสันก้างปลา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการเจริญสมาธิในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษากระบวนการเจริญสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพของสำนักปฏิบัติธรรมวัดสันก้างปลา และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการเจริญสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพของสำนักปฏิบัติธรรมวัดสันก้างปลา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการลงพื้นที่ภาคสนามและเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมาย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกต ทำการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า หลักการเจริญสมาธิในพระพุทธศาสนาถือเป็นองค์ธรรมที่สำคัญมีปรากฏอยู่ในพระสูตรจำนวนมาก เป็นองค์ธรรมที่อุปการะต่อการบรรลุมรรค ผล นิพพาน และยังเอื้อต่อการทำให้สุขภาพกาย และสุขภาพจิตดี ถ้านำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
กระบวนการเจริญสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพของสำนักปฏิบัติธรรมวัดสันก้างปลา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ คือ การปฏิบัติตามข้อวัตรปฏิบัติ คือ 1) การบริโภคอาหารที่มีคุณประโยชน์ การใช้เภสัชสมุนไพร 2) การออกกำลังกาย ยึดหลักการปรับเปลี่ยนอิริยาบถทั้ง 4 ให้สมดุล โดยเฉพาะอิริยาบถเดิน 3) การบริหารจิต ถือหลักปฏิบัติในการบริหารจิต การใช้พุทธวิธีเยียวยารักษาโรคด้วยพระธรรมโอสถ เช่น การเทศนาสัญญา 10 หรือ โพชฌงค์ 7 4) การดำเนินชีวิตอยู่กับธรรมชาติ และ 5) สุขลักษณะ หลักปฏิบัติสุขลักษณะอนามัยทั้งด้านร่างกายและด้านสิ่งแวดล้อม
รูปแบบการเจริญสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพของสำนักปฏิบัติธรรมวัดสันก้างปลา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ คือ การเจริญสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพทางกายและใจ มีหลักสูตรปฏิบัติธรรม 3 หลักสูตร ได้แก่ 1) หลักสูตรธรรมะนำชีวิต (3 วัน) 2) หลักสูตรเมตตาภาวนา (5 วัน) 3) หลักสูตรจิตตภาวนา (7 วัน) ประกอบด้วย กิจกรรมการศึกษาทฤษฎี การฝึกปฏิบัติ คือ การกราบสติปัฏฐาน การเดินจงกรม การเจริญสมาธิตามหลักสติปัฏฐาน 4 กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ และการสอบอารมณ์กรรมฐานตามลำดับญาณ 16
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พุทธจิตบำบัด. กรุงเทพมหานคร : หจก.ชุติมาการพิมพ์, 2531.
พระมหาวิชัย ยติชโย (ฤทธิ์วิรุฬห์). “การศึกษาการพัฒนาวัดนาคเป็นสำนักปฏิบัติธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. สัมมาสมาธิ ลมหายใจแห่งการตื่นรู้. เชียงราย: ศูนย์วิปัสสนาอาศรมอิสรชน, 2552.
พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). การบริหารวัด. พิมพ์ครั้งที่ 8. นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์, 2549.
ไพยนต์ กาสี. พิชิตกรรมร้าย หายป่วยด้วยโพชฌังคปริตร, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, 2554.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.