แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

พระมหาพงษ์เทพ ปภากโร (ล้อประเสริฐ)
พระครูสาทร ปริยัติคุณ
สิน งามประโคน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา 2) เพื่อศึกษาหลักการและวิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างนักเรียนโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 120 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู จำนวน 5 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


 


ผลการวิจัยพบว่า


1) สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดปทุมธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการวัดผลประเมินผล ด้านการบริหารจัดการ


2) หลักการและวิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กำหนดหลักสูตรโดยคำนึงถึงเนื้อหาที่เหมาะสมกับผู้เรียนทันต่อยุคสมัยส่งเสริมการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง นำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้วัดและประเมินผลด้วยวิธีที่หลากหลาย เน้นกระบวนการบริหารจัดการศึกษาร่วมกับชุมชน


               3) เสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและวัด เหมาะสมกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล จัดการเรียนการสอนโดยใช้หนังสือของกระทรวงศึกษาธิการเน้นเนื้อหาสาระที่เหมาะสมกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วยทักษะการเรียนรู้และ นวัตกรรม ทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะด้านสารสนเทศ เทคโนโลยีใช้สื่อการเรียนการสอนผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต วัดผลประเมินผลด้วยคอมพิวเตอร์ จัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบวิถีใหม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ภายใต้การเอาใจใส่และการให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดจากผู้สอนและผู้ปกครองในวัดเน้นเรื่องการปฏิบัติศาสนกิจ เป็นศาสนทายาทที่ดีของพระศาสนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระครูใบฎีกาบุญชู ชุติปณโญ (บุญวงศ์), “รูปแบบการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรมแผนกสามัญศึกษา”, วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 2554), บทคัดย่อ.

พระปลัดโฆษิต คงแทน, “รูปแบบการจัดการศึกษาวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน”, วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 2558), บทคัดย่อ.

พระมหาไกรวรรณ ปุณขันธ์, “ผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสำนักเรียนพระปริยัติธรรม”, วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552), บทคัดย่อ.

พระมหาสุพจน์ สุเมโธ (พานทอง), “การพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาตามพุทธวิธีบริหารการศึกษาโรงเรียน พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 2”; วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2558), บทคัดย่อ.

พระมหาสุพจน์ สุเมโธ (พานทอง), “การพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาตามพุทธวิธีบริหารการศึกษาโรงเรียน พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 2”; วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2558), บทคัดย่อ.

โรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.watpho.com/th/watpho-school [6 ตุลาคม 2564].

วรางคณา ทองนพคุณ, ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในอนาคต, คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 2554 (เอกสารประกอบ), หน้า 25-28.