การเข้าถึงความจริงในพุทธปรัชญา The Accession to the Truth in Buddhist Philosophy The Accession to the Truth in Buddhist Philosophy
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเข้าถึงความจริงในพุทธปรัชญา เป็นการเข้าถึงสิ่งที่มีอยู่จริงโดยปรมัตถ์ หมายถึงการเข้าถึงอสังขตธรรมอันเป็นสภาวะที่ไม่มีปัจจัยหรือไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน ที่มีสภาวะลักษณะเฉพาะอันมีความเกิดขึ้นไม่ปรากฏ ความดับสลายไม่ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ ความแปรไม่ปรากฏ นิพพานนั้นเป็นภาวะที่จะเข้าถึงได้ด้วยวิปัสสนาญาณเท่านั้น
การเจริญวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐานอย่างถูกต้อง เป็นการเจริญญาณปัญญาพิจารณาธรรมทั้งหลายที่ล้วนเป็นเหตุเป็นผลแก่กันตามหลักปฏิจจสมุปบาท เห็นชัดรูปนามโดยอาการต่าง ๆ เกิดปัญญาให้รู้เท่าทันธรรมชาติของชีวิตและสรรพสิ่งตามกฏไตรลักษณ์ อันเป็นทุกข์และเหตุแห่งทุกข์ในอริยสัจที่เกิดกับกายและใจ เมื่อกำจัดความยึดมั่นในอุปาทานแล้ว หลุดพ้นจากอำนาจการครอบงำของอาสวะกิเลสปรุงแต่งจิตโดยสิ้นเชิง ย่อมมีทิฏฐิความเห็นถูกต้อง ทำให้ไม่หลงยึดติดถือมั่นและปล่อยวางสิ่งปรุงแต่งที่ทำให้เป็นทุกข์ มีจิตใจเป็นอิสระ สู่หนทางแห่งภาวะนิพพาน อันเป็นการเข้าถึงความจริงสูงสุดในพุทธปรัชญา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาฉบับราชบัณฑิตสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
พระพรหมคุณาภรณ์. (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.
พระมหาสำรอง สญฺญโต และ ณัฐชยาจิตภักดี. กระบวนการแสวงหาความจริงในเชิงปรัชญาที่ปรากฏในเกสปุตตสูตร. Journal of Modern Learning Development ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม–สิงหาคม 2563
พระอนุรุทธะและพระญาณธชะ (2546). อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี, แปลโดยพระคันธสาราภิวงศ์.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยรายวันกราฟฟิคเพท.
ธีรโชติ เกิดแก้ว, ผศ. (2553). พุทธปรัชญา มิติการมองโลกและชีวิตตามความเป็นจริง. สมุทรปราการ: โครงการสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
ฐานิสรา ประธานราษฎร์นิกร. (2561). สมมติสัจจะ : เครื่องมือนําไปสู่กํารรู้แจ้งปรมัตถสัจจะ. วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย ปีที่ 13 ฉบับที่ 1.
สมภาร พรมทา. (2540). พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนทร ณ รังสี. (2543). พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Del Kiernan-Lewis. (2000). Learning to Philosophize a Primer. Belmont: Wadsworth.
Karunadasa, Y. Theravada Version of the Two Truths. http://skb.or.kr/down/papers/094.pdf.
Niraj Kumar; George van Driem; Phunchok Stobdan (2020). Himalayan Bridge. KW. ISBN 978-1-00-021549-6.
Sonam Thakchoe, The Theory of Two Truths in India. Stanford Encyclopedia of Philosophy. https://plato.stanford.edu/entries/twotruths-india/.