หลักการและวิธีการปฏิบัติสมถภาวนา หลักการและวิธีการปฏิบัติสมถภาวนา

Main Article Content

สรวิชญ์ วงษ์สอาด
พระครูพิพิธวรกิจจานุการ
พระมหาถนอม ฐานวโร
พระมหาศุภวัฒน์ ฐานวโร
บรรพต ต้นธีรวงศ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา “หลักการและวิธีการปฏิบัติสมถภาวนา” พบว่า สมถกัมมัฏฐาน เป็นอุบายวิธีสำหรับฝึกจิตให้สงบ ไม่ว่าจะได้สมาธิในระดับใดก็ตาม ก็ถือว่าได้สมาธิแล้ว เหตุที่ต้องฝึกจิตให้เกิดสมาธิ เพราะโดยธรรมชาติ ปุถุชนมักจะถูกกิเลสทำให้จิตไม่สงบเสมอ การที่จิตไม่สงบนั้นเป็นเพราะจิตถูกนิวรณ์ 5 ชนิด โดยการเจริญสมถภาวนา หรือสมาธิภาวนานั้น ข้อปฏิบัติหรือกิจแรกที่พระสงฆ์จะต้องศึกษาอันเป็นจุดหมายสําคัญในพระพุทธศาสนาคือไตรสิกขา เพื่อแก้ความข้องใจของผู้ปฏิบัติที่ต้องการหาวิธีตัดข่ายตัณหา มีอานิสงส์มากเมื่อว่าโดยรวมแล้วมีปรากฏผล คือ เป็นเครืองอยู่เป็นสุขในภพทันตาเห็นในวินัยของพระอริยะ มีวิปัสสนาเป็นอานิสงส์ ทำให้เกิดโลกียอภิญญา ทำเกิดเป็นพรหม เข้าถึงนิโรธสมาบัติ และมีอานิสงส์ที่ตามมา คือ ทำให้จิตใจสงบมากขึ้น กระทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้นและมีประสิทธิภาพ กระทั้งการศึกษาเล่าเรียนได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ปราศจากโรคภัยบางชนิดให้หายได้ สุขสบงเย็น ผิวพรรณผ่องใสอายุยืน สามารถจะเผชิญหน้าต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้อย่างสุขุม รอบคอบ สามารถแก้ไขความยุ่งยากวุ่นวายในชีวิตได้ถูกต้องเป็นพื้นฐานในการเจริญวิปัสสนา มีพระนิพพานเป็นที่สุด มิฉะนั้น ก็เป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (๒๕๓๕). พระไตรปิฎกบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

___________. (๒๕๓๙). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

___________. (๒๕๓๙).อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอัฏฐกถา. กรุงเทพมหานคร: วิญญาณ.

___________. (๒๕๓๙). ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฏีกา. กรุงเทพมหานคร: วิญญาณ.

___________. (๒๕๓๙).ปกรณวิเสสบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร: .วิญญาณ.

พระพุทธโฆสเถระ. (๒๕๔๘) .คัมภีรวิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย (อาจ อาสภมหาเถระ). พิมพครั้งที่ ๖. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธนาเพรส จํากัด.

พระอุปติสสเถระ. (๒๕๖๐).วิมุตติมรรค.แปลโดย คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.