เกษตรทฤษฎีใหม่บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและชุมชน

Main Article Content

สมาพร เรืองสังข์

บทคัดย่อ

การทำการเกษตรตามแนวยุคปฏิวัติเขียว เน้นการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งในพื้นที่ โดยมีการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เครื่องจักรกลทางการเกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิตให้ได้ปริมาณมากเพียงพอต่อการจำหน่าย การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเพื่อผลิตผลผลิตทางการเกษตรตามแนวปฏิวัติเขียวอย่างต่อเนื่อง ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม พืชผลทางการเกษตรมีสารพิษตกค้าง ต้นทุนปัจจัยการผลิตสูง เกิดปัญหาสุขภาพและภาวะหนี้สิน ขณะเดียวกันวิถีชีวิตของเกษตรกรดั้งเดิมเริ่มสูญหาย ขาดผู้สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวโยงกับวิถีชีวิตและการทำการเกษตรอันเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นไทย ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชดำริ “เกษตรทฤษฎีใหม่” เพื่อแบ่งสัดส่วนพื้นที่ทำการเกษตรด้วยกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ เกิดความมั่นคงด้านอาหารและการบริหารจัดการที่ดินและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรทฤษฎีใหม่มี 3 ขั้น คือการเกษตรเพื่อเลี้ยงครอบครัว กลุ่มเษตรกรเข้มแข็ง และชุมชนเข้มแข็งมีเครือข่ายภายนอก การทำเกษตรตามหลักของเกษตรทฤษฎีใหม่บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยแก้ปัญหาแก่เกษตรกรและชุมชน ทั้งในระดับแนวทางการประยุกต์หลักการให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่และระดับนำหลักการที่ปรับเข้ากับบริบทพื้นที่ไปปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จ ได้แก่ การทำนา 1 ไร่ ได้  1 แสนบาท, โคก หนอง นา โมเดล, การจัดการฟาร์มคาเฟ่, แนวทางการพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ การบูรณาการภูมิปัญญาเดิมเข้ากับเทคโนโลยีปัจจุบัน การเพาะปลูกพืชหลากหลายชนิด การรวมกลุ่มผลิตสินค้าเกษตรที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน การขยายตลาด การสร้างตราสินค้า การโฆษณาประชาสัมพันธ์

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). คู่มือการปฏิบัติงานโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ชยุต อินทร์พรหม. (2561).เศรษฐกิจพอเพียงกับเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์.วารสารพัฒนาสังคม 20(2):1-15.

ญาณิศา เผื่อนเพาะ และ สันติธร ภูริภักดี. (2563). แนวทางการจัดการฟาร์มคาเฟ่ ตามรอยเกษตรทฤษฎีใหม่ของผู้ประกอบการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารร่มพฤกษ์มหาวิทยาลัยเกริก 38(1): 7-20.

นิธิพัฒน์ ชารี. (2562). การศึกษาการประยุกต์ใช้เกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรจังหวัดสกลนคร เพชรบุรี และฉะเชิงเทรา. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปิยวัลคุ์ ตัญตรัยรัตน์. (2547). การเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ กรณีศึกษา: ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ โครงการบัญฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

มาริษา ศรีษะแก้ว สถาพร วิชัยรัมย์ และสากล พรหมสถิตย์. (2020). ศาสตร์พระราชา: เกษตรทฤษฎีใหม่ในรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล”. วารสารสหวิทยาการจัดการ 4(2): 31-40.

วิรัลพัชร ประเสริฐศักดิ์. (2558). ความมั่นคงทางอาหาร: จากพัฒนาการเกษตรสู่เศรษฐกิจพอเพียง. วารสารการเมืองการปกครอง 5(2): 144-160.

วิศรุตา ทองแกมแก้ว และชนินทร์ จักรภพโยธิน. (2559). การเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะตัวแปรกำกับระหว่างนโยบายรัฐกับการแก้ปัญหาวิกฤตยางพาราภาคใต้. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 3(3): 128-148.

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. (2559). ทฤษฏีของพ่อ สู่วิถีแห่งความพอเพียงโครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ในเขตปฏิรูปที่ดิน. กรุงเทพฯ : กองประสานงานโครงการพระราชดำริและโครงการพิเศษ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2562). คู่มือการดำเนินงานโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ปีงบประมาณ พ.ศ.2563-2565. กรุงเทพฯ : กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

อาทิตยา พองพรหม. (2562). หลักการและรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.

Davies, P. (2003). An historical perspective from the Green Revolution to the Gene Revolution. Nutrition Reviews 61(6): 124-134.