การบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้

Main Article Content

พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร)
สมศักดิ์ บุญปู่
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน และสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คนใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนวัดให้เป็นแหล่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนทั้ง 5 ด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมการรับประโยชน์ร่วมกัน ด้านการมีส่วนร่วมการระดมความคิด ด้านการมีส่วนร่วมการลงมือทำ ด้านการมีส่วนร่วมการวางแผน และด้านการมีส่วนร่วมการติดตามประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา, แนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา ปี ๒๕๕๗, กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา, ๒๕๕๗.

กรมการศาสนา, แนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา ปี ๒๕๕๗.

ทะเบียนวัดในประเทศไทย, [ออนไลน์วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๔], Retrieved from http://www.thammapedia.com/ ceremonial/watthai_bypak.htm

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุริยาสานส์, ๒๕๔๓.

พระครูขันติวโรภาส (ขาว ขนฺติโก), “รูปแบบการพัฒนาวัดในกรุงเทพมหานครให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม”, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : 2559.

พระครูวัฒนสุตานุกูล, “กระบวนการพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคณะสงฆ์ไทย”, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : 2557.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

วิกิพีเดีย, จังหวัดนนทบุรี, https://th.wikipedia.org/ [ออนไลน์วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๔]

วีระพน ภานุรักษ์และคณะ, “รูปแบบการเผยแพร่แหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม”, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2559.

สำนักงานพระพุทธศาสนา, ข้อมูลพื้นฐาน ปี ๒๕๕๑, อ้างใน พระปลัดโฆษิต คงแทนและคณะ “รูปแบบการจัดการศึกษาของวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน”, ดุษฎีนิพนธ์, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล,๒๕๕๘.

สุทธิพงศ์ บุญผดุง, “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก”, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2558.

Mark D. Regnerus. A Study on Religious Influences Affecting Youths’ Educational Perfermance in Disadvantaged Communities. United States of America : Baylor University, 2002.