The การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์และคู่มือในรูปแบบดิจิทัลสำหรับส่งเสริม การท่องเที่ยววิถีพุทธนานาชาติในเมืองหลัก 15 จังหวัดของประเทศไทย

Main Article Content

พระมหาวัฒนา ปญฺญาทีโป (คำเคน)
พิชญานันต์ พงษ์ไพบูลย์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) วิเคราะห์สภาพตลาด และพฤติกรรมของผู้บริโภค ต่อความต้องการท่องเที่ยววิถีพุทธระดับเมืองหลักในระดับชาติและนานาชาติ (2) พัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์วีดีทัศน์สำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธในเมืองหลัก (3) นำเสนอสื่อประชาสัมพันธ์คู่มือในรูปแบบดิจิทัล สำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธระดับเมืองหลัก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร การวิจัยภาคสนาม  และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผู้ให้ข้อมูลคือ เจ้าอาวาส/ผู้ดูแลสถานที่ 30 รูป/คน นักท่องเที่ยว/ ผู้ปฏิบัติธรรม 45 คน และการสนทนากลุ่ม 5 คน เครื่องมือวิจัย คือ1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) ชุดปฏิบัติการ/ชุดกิจกรรม 3) แบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลยึดวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือคำถามวิจัยเป็นกรอบแนวทาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการกำหนดประเด็น กำหนดความสำคัญ จัดกลุ่มประเภทของประเด็นสำคัญ หารูปแบบความสัมพันธ์


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพตลาด และพฤติกรรมของผู้บริโภค การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่นำรายได้หลักเข้าสู่เศรษฐกิจไทย การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างมาก จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงจากปี 2562 กว่า 50% ในช่วงปลายปี 2565 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด19 รัฐบาลเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวผ่อนปรนมาตรการต่างๆ คาดว่าจะมีรายได้จากตลาดในประเทศประมาณ 7 แสนล้าน และรายได้จากตลาดต่างประเทศประมาณ 5 แสนล้าน การท่องเที่ยวหลังโควิดจะมุ่งสู่การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น สู่การท่องเที่ยวมูลค่าสูงใน 3 ด้านคือ ด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม บนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ปริมาณนักท่องเที่ยวที่เหมาะสม พฤติกรรมของผู้บริโภค มุ่งไปใน 3 เรื่อง คือ (1) ความสมบูรณ์ของธรรมชาติ (2) มีแหล่งท่องเที่ยวสายพุทธหรือมูเตลู ที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก (3) วัฒนธรรมจะเชื่อมโยงเข้ากับพระพุทธศาสนา จารีตประเพณี


2) การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์วิดิทัศน์สำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธในเมืองหลักโดยกำหนดเนื้อหาวัตถุประสงค์กลุ่มผู้ชม วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย ช่องทางการเผยแพร่ มาเขียนบทสคริปต์วิดีโอ เพื่อตรงกับพฤติกรรมผู้บริโภค โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1)วัดท่องเที่ยว และ 2)สถานปฏิบัติธรรม โดยใช้สื่อที่สามารถนำไปประชาสัมพันธ์ตามช่องทางหลัก


3) การนำเสนอสื่อประชาสัมพันธ์คู่มือในรูปแบบดิจิทัล สำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธระดับเมืองหลัก พบว่าการนำเสนอสื่อวีดีทัศน์การท่องเที่ยวโดยจัดเป็นจังหวัดละสองวัด มีวัดท่องเที่ยวและวัดปฏิบัติ อย่างกระชับไม่เกิน 4 นาที สามารถแสดงข้อมูล จุดท่องเที่ยวสำคัญให้น่าสนใจทั้งด้านวัตถุและเนื้อหา ทำให้เกิดประสบการณ์ใหม่สำหรับผู้รับชม


ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพตลาด และพฤติกรรมของผู้บริโภค ต่อความต้องการท่องเที่ยววิถีพุทธระดับเมืองหลักในระดับชาติและนานาชาติ การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่นำรายได้สู่ประเทศ จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างมาก จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงจากปี 2562 กว่า 50% มีรายงานจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยว่า มีการถูกเลิกจ้างไปไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25-30  และในช่วงท้ายปี2565 รัฐบาลเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวผ่อนปรนมาตรการต่างๆ คาดว่าจะมีรายได้จากตลาดในประเทศประมาณ 7 แสนล้าน และรายได้จากตลาดต่างประเทศประมาณ 5 แสนล้าน จากนักท่องเที่ยวอย่างน้อย 20 ล้านคน และจะกลับฟืนคืนสู่สภาพปกติและดีกว่าเดิม การท่องเที่ยวหลังโควิด จะมุ่งสู่การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวในระดับประเทศดีขึ้น สู่การท่องเที่ยวมูลค่าสูงใน 3 เรื่อง คือ ด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม อยู่บนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ปริมาณนักท่องเที่ยวที่เหมาะสม


การสำรวจตลาดนักท่องเที่ยวพบว่าพฤติกรรมของผู้บริโภค มุ่งไปใน 3 เรื่อง คือ (1) ธรรมชาติ ความเขียวชอุ่ม สมูบรณ์ของธรรมชาติ (2)เรื่องธรรมะ มีแหล่งท่องเที่ยวสายพุทธหรือสายธรรม หรือสายมูเตลู ที่มีชื่อเสียงจำนวนมากรองรับนักท่องเที่ยว (3)วัฒนธรรม จะเชื่อมโยงเข้ากับพระพุทธศาสนา จารีตประเพณี ในแต่ละเดือน แนวโน้มการท่องเที่ยวจากสถานการณ์โควิดระบาดและเศรษฐกิจถดถอย ผู้คนจะมีการท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาที่พึ่งทางจิตใจเพิ่มมากขึ้น แหล่งท่องเที่ยววิถีพุทธ และสถานปฏิบัติธรรมในเมืองหลักทั้ง ๑๕ เมืองจะเป็นทางเลือกให้นักท่องเที่ยวได้ไปเที่ยวชม


การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์วีดิทัศน์สำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธในเมืองหลัก เป็นการนำข้อมูลจากวัดท่องเที่ยวและสถานปฏิบัติธรรมในเมืองหลัก มาเขียนบทสคริปวิดีโอ โดยการกำหนดเนื้อหาวัตถุประสงค์ กลุ่มผู้ชม วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย ช่องทางการนำไปเผยแพร่ เพื่อตรงกับพฤติกรรมผู้บริโภค โดยจัดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ (1)วัดท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น1.สายเกจิอาจารย์/รูปเคารพและวัตถุมงคล (2) สายสถาปัตยกรรมและจิตรกรรม (3) สายประเพณีวัฒนธรรมและอนุรักษ์ธรรมชาติ  และ(2) สถานปฏิบัติธรรมแบ่งออกเป็น 3 คือ  1.แนวพุทโธ /อานาปานสติ (2) แนวสติปัฏฐาน 4 (พองยุบ) (3) แนวกายเคลื่อนไหว รูป-นาม. สื่อที่ได้สามารถนำไปประชาสัมพันธ์ตามช่องทางหลัก (www.travel2thailand.com) และสื่อโซเซียล Youtube, Tiktok, Facebook ตามกระแสผู้บริโภคปัจจุบันนิยมรับสื่อในช่องนี้


การนำเสนอสื่อประชาสัมพันธ์คู่มือในรูปแบบดิจิทัล สำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธระดับเมืองหลัก พบว่าการนำเสนอสื่อวีดีทัศน์การท่องเที่ยวโดยจัดเป็นจังหวัดละสองวัด มีวัดท่องเที่ยวและวัดปฏิบัติ อย่างกระชับไม่เกิน 4 นาที สามารถแสดงข้อมูล จุดท่องเที่ยวสำคัญ ความน่าสนใจ ออกให้เห็นรูปธรรมนามธรรม ทั้งลำดับการเล่าเรื่อง เสียงบรรยาย ดนตรีประกอบ เอฟเฟค ทำให้เกิดประสบการณ์ใหม่สำหรับผู้รับชม คัดเลือกมุมภาพที่สวยงาม บอกเล่าเรื่องราวได้อย่างมีอรรถรส น่าติดตาม เผยแพร่ในช่องทางหลักและ สื่อโซเชียล Youtube,Tiktok, Facebook เข้าถึงผู้ชมจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว มีการปรับปรุงติดตามอยู่เสมอ ทำให้การเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววิถีพุทธในเมืองหลักมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โสทรินทร์ โชคคติวัฒน์, ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธในอาเซียน, วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2564).

องค์การท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization : W.T.O) ดูรายละเอียด [ออนไลน์] https://www.unwto.org/glossary-tourism-terms. (15 ธันวาคม 2565)

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. การท่องเที่ยวแบบบันเทิงและกีฬา, สืบค้นออนไลน์ https://www.bangkokbiznews.com/business/1008489 (15 ธันวาคม 2565)