อิทธิพลของประเพณีลอยขโมดที่ส่งผมต่อวิถีชีวิตของคน ในชุมชนตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของประเพณีลอยโขมดที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน อันเป็นประเพณีที่มีความสำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน โดยจัดขึ้นในช่วงเดือนยี่ คืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง ชาวบ้านนำกาบกล้วยมาทำเป็นกระทงทรงกระโจมสำหรับใส่สิ่งของต่าง ๆ ลอยไปตามลำน้ำกวงบริเวณหน้าวัดรมณียาราม หรือวัดกู่ระมัก ซึ่งความสำคัญของประเพณีลอยโขมด เป็นการลอยเคราะห์ลอยบาป ต้องการลดเคราะห์เสนียดจัญไรในตัวให้ไหลไปตามน้ำในเทศกาลเดือนยี่ เพื่อส่งของแก่บรรพบุรุษ ตามคติความเชื่อของคนโบราณ เพื่อบูชาพระนารายณ์ ตามคติความเชื่อของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระพุทธบาทในหาดทรายแม่น้ำนัมนที และเป็นการลอยเพื่ออธิษฐาน อันเป็นเป้าหมายของประชาชนโดยตรง คือ อธิษฐานเอาตามความคิดของตน โดยเฉพาะการอธิฐานของหนุ่มสาวที่ต้องการแต่งงานกัน เมื่อทำกระทงแล้วก็ไปลอยในแม่น้ำและอธิษฐานสิ่งที่ตนปรารถนา สำหรับอิทธิพลของประเพณีลอยโขมดที่มีต่อวิถีชีวิตของชุมชนมีทั้งด้านความเชื่อและจิตใจ ทำให้คนมีคุณธรรม ด้านวัฒนธรรมประเพณี ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมกิจกรรมและมาลอยโขมดเพื่อสืบสานประเพณีอันดีงามเหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
ฑิตฐิตา นาคเกษม. ประเพณีถิ่นภาคกลาง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, ๒๕๔๘.
ประเวศ วะสี. “วัฒนธรรมกับการพัฒนา” ไทยยุควัฒนธรรมทาส. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นดิ้งแอน พับลิสซิ่ง, ๒๕๔๑.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕. ประเพณี. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki (๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๕), {สืบค้นเมื่อ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๕}
พระโพธิรังสี. จามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย. นนทบุรี: ศรีปัญญา, ๒๕๕๔.
พระยาอนุมานราชธน. วัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ของไทย. พระนคร : คลังวิทยา. ๒๕๑๔.
มณี พะยอมยงค์. ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๕. เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์. ๒๕๔๗.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ความเชื่อและศาสนาในสังคมไทย. นนทบุรี : สาขาศิลปะศาสตร์. ๒๕๓๙.
ยศ สันตสมบัติ. มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: .มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ๒๕๔๘.
วิมล จิโรจพันธุ์ และคณะ. ศิลปะและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : แสงดาว. ๒๕๔๘.
สงวน โชติสุขรัตน์. ประเพณีไทย ภาคเหนือ. เชียงใหม่: สงวนการพิมพ์. ๒๕๑๑.
สุเมธ เมธาวิทยกุล. สังกัปพิธีกรรม. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๒.
เสาวนีย์ จิตต์หมวด. การวัฒนธรรมศึกษา กระบวนการบริหารและจัดการวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: ประชาชน. ๒๕๓๘
แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย. วัฒนธรรมในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : บริษัทธรรมดาเพรส, ๒๕๔๘.