ศีล 5 กับหน้าที่ของชาวพุทธที่ดี

Main Article Content

กฤชนนท์ พุทธะ
พระครูโกวิท อรรถวาที
สรวิชญ์ วงษ์สะอาด
จันทรัสม์ ตาปูลิง

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา “ศีล 5 กับหน้าที่ของชาวพุทธที่ดี” พบว่า การละกิเลสตัณหาทำให้จิตของมนุษย์ในการดำเนินชีวิต ที่ประเสริฐอันเป็นวิธีการ หรือเครื่องมือในการสู่จุดมุ่งหมายอันเป็นประโยชน์สูงสุด เป็นอุดมคติของชีวิต ครอบคลุมถึงการกระทำใดดีหรือไม่ดี ควรหรือไม่ควร ศีลธรรมมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บุคคลมีชีวิตที่ดี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สามารถอยู่ร่วมกันเป็นสังคมได้เป็นอย่างดี มีความสุข และทำให้มีการดำเนินชีวิต การครองชีพอย่างประเสริฐ เพราะฉะนั้นศีลธรรมจึงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดีของชาวพุทธด้วยกัน คือ ศีลธรรมขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นของธรรมจริยา ที่เรียกว่า ศีล 5 ซึ่งเป็นจริยธรรมแนวพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นเกณฑ์ตัดสินถึงคุณค่าเชิงศีลธรรม  ซึ่งเป็นวินิจฉัยความดีและความชั่ว โดยอาศัยการกระทำใน 2 ลักษณะ คือ การกระทำใดที่มีรากฐานมาจากกุศลมูล ถือว่า เป็นการกระทำที่ดีมีประโยชน์มีคุณค่า ส่วนการกระทำที่มีรากฐานมาจากอกุศลมูล ถือเป็นการกระทำที่เป็นฝ่ายชั่ว เพราะว่าพระพุทธศาสนาเน้นการปฏิบัติด้วยตนเองเองและพิสูจน์ให้เห็นจริงด้วยตนเอง ได้ชื่อว่า รู้จักกฎเกณฑ์ในการตัดสินความดีที่ถูกต้องและจริงแท้ โดยไม่ต้องให้ใครมาหลอกลวงได้นั้นเอง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จำนงค์ ทองประเสริฐ. หลักการเอาชนะอุปสรรค. กรุงเทพมหานคร : WISDOM. นนทบุรี. 2540.

ชำนะ พาซื่อ. ผศ. จริยศาสตร์ เอกสารคำสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณ์บรรณาคาร. 2547.

ธนิต อยู่โพธิ์. อานิสงส์ศีล 5. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร. 2529.

พระธรรมปิฎก. ป.อ.ปยุตฺโต. พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. 2546.

ไพฑูรย์ พัฒน์ใหญ่ยิ่ง. ดร. และคณะ. จริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 2551.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. ๒๕๐๐. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.

มหามกุฎราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล. ฉบับมหามกุราชวิทยาลัย.พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย. ๒๕๓๖.

________. พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๓๙.

________. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วิญญาณ. ๒๕๓๒.

รัตนา ตันบุนเต็ก. ปรัชญาคืออะไร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. 2523

ราชบัฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัฑิตยสถาน. พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอักษรเจริญทัศน์จำกัด. 2539.

สุเชาวน์ พลอยชุม. ผศ. จริยศาสตร์แนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหามงกุฏราชวิทยาลัย. 2537

H. Saddhatissa. Buddhist ethics. London: George Allen & Unwind LTD.. 1970.