การเผยแผ่หลักธรรมของคณะสงฆ์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

พระธรรมนูญ จิรมนุญฺโญ (จุลอมร)
วชิรวิชญ์ อิทธิธนาศุภวิชญ์
โสภณ ขำทัพ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การเผยแผ่หลักธรรมของคณะสงฆ์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดการเผยแผ่หลักธรรม 2) ศึกษาการเผยแผ่หลักธรรมของคณะสงฆ์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูป/คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเพื่อได้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นตัวแทนที่เหมาะสม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นการนำคำสั่ง คำสอน ไปถ่ายทอดสู่สาธารณะชนให้ได้รับรู้ เข้าใจ และนำไปปฏิบัติตามเพื่อเป้าหมายสูงสุด จากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งมีหลักธรรมมากมายที่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ และขึ้นอยู่กับระดับปัญญาของผู้ที่ได้รับการถ่ายทอด การเผยแผ่จึงเป็นไปตามระดับความสนใจและความเหมาะสมของผู้ฟัง คือ โลกียธรรมและโลกุตตระธรรม การเผยแผ่ในสังคมไทยปัจจุบันนี้ทางคณะสงฆ์จะมุ่งเน้นหลักธรรมเพื่อคนหมู่มาก และจะให้ความสำคัญในระดับศีลธรรมมากกว่า โดยให้ผู้มีความพร้อมในการประพฤติและการปฏิบัติธรรมได้ง่ายและสะดวกขึ้น และไม่จำเป็นจะต้องเป็นนักบวช ด้วยวิธีเผยแผ่หลักธรรมผ่านบุคคล ศาสนสถานศาสนวัตถุ เอกสารคัมภีร์ และนโยบายรัฐ 2) การเผยแผ่หลักธรรมของคณะสงฆ์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร พบว่าคณะสงฆ์ทุกระดับภายในวัดดำเนินงานต่อเนื่องมาจากอดีตถึงปัจจุบัน การเผยแผ่มีรูปแบบตามความถนัดของคณะสงฆ์ และทุกกิจกรรมจะต้องร่วมมือร่วมใจกัน จึงจะเกิดผลด้วยการรับรู้ เข้าใจ และนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมหลักทั้ง 5 กิจกรรม ได้แก่ การเทศน์, การปฏิบัติธรรม, การจัดการศึกษา, การจัดเข้าค่ายอบรมคุณธรรม, และการสาธารณะสงเคราะห์ โดยไม่ให้ภาระหน้าที่เหล่านี้แก่คณะสงฆ์เพียงฝ่ายเดียว แต่ผู้รับสารหรือผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาครัฐต้องสนับสนุนช่วยเหลือวัดและคณะสงฆ์ เพื่อเป็นหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมการเผยแผ่ในพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป


ผลการวิจัยพบว่า 1) การเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นการนำคำสั่ง คำสอน ไปถ่ายทอดสู่สาธารณะชนให้ได้รับรู้ เข้าใจ และนำไปปฏิบัติตามเพื่อเป้าหมายสูงสุด จากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งมีหลักธรรมมากมายที่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ และขึ้นอยู่กับระดับปัญญาของผู้ที่ได้รับการถ่ายทอด การเผยแผ่จึงเป็นไปตามระดับความสนใจและความเหมาะสมของผู้ฟัง คือ โลกียธรรมและโลกุตตระธรรม การเผยแผ่ในสังคมไทยปัจจุบันนี้ทางคณะสงฆ์จะมุ่งเน้นหลักธรรมเพื่อคนหมู่มาก และจะให้ความสำคัญในระดับศีลธรรมมากกว่า โดยให้ผู้มีความพร้อมในการประพฤติและการปฏิบัติธรรมได้ง่ายและสะดวกขึ้น และไม่จำเป็นจะต้องเป็นนักบวช ด้วยวิธีเผยแผ่หลักธรรมผ่านบุคคล ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ เอกสารคัมภีร์ และนโยบายรัฐ 2) การเผยแผ่หลักธรรมของคณะสงฆ์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร พบว่าคณะสงฆ์ทุกระดับภายในวัดดำเนินงานต่อเนื่องมาจากอดีตถึงปัจจุบัน การเผยแผ่มีรูปแบบตามความถนัดของคณะสงฆ์ และทุกกิจกรรมจะต้องร่วมมือร่วมใจกัน จึงจะเกิดผลด้วยการรับรู้ เข้าใจ และนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมหลักทั้ง 5 กิจกรรม ได้แก่ การเทศน์, การปฏิบัติธรรม, การจัดการศึกษา, การจัดเข้าค่ายอบรมคุณธรรม, และการสาธารณะสงเคราะห์ โดยไม่ให้ภาระหน้าที่เหล่านี้แก่คณะสงฆ์เพียงฝ่ายเดียว แต่ผู้รับสารหรือผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาครัฐต้องสนับสนุนช่วยเหลือวัดและคณะสงฆ์ เพื่อเป็นหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมการเผยแผ่ในพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา. ประวัติพระอารามหลวง เล่ม 2” (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา). 2553.

แก้ว ชิดตะขบ. ประวัติความสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. 2553.

พจนารถ สุพรรณกุล. การเผยแผ่พระพุทธศาสนากับเทคโนโลยีสารสนเทศ. เรียกใช้เมื่อ 6 ธันวาคม 2565 จาก http://phd.mbu.ac.th/index.php/2014-08-28-08- 57-4/106-2014-09-2008-27-56 . 2557.

พระครูสังฆรักษ์พิทยา ญาณธโร (ปิยวรากุล). ศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคดิจิทัล. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2561.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 11/2, (กรุงเทพมหานคร : เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด), 2551.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). คู่มือชีวิต, กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา, 2562.