การศึกษาสภาพภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี

Main Article Content

พระมหาพรประสงค์ ปริญฺญาวรเมธี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี จำนวน 354 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ทั้ง 5 ด้าน คือ การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล การรู้ดิจิทัล การสื่อสารดิจิทัล การบริหารจัดการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล และการสร้างวัฒนธรรมเรียนรู้ดิจิทัล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรพล สังข์โพธิ์, สุวรรณ จันทิวาสารกิจ และเสาวนีย์ อยู่ดีรัมย์. ภาวะผู้นำในการบริหารองค์กรยุค ดิจิทัล กรณีศึกษา: องค์กรไอทีและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.cio.citu.tu.ac.th/ cio2017/?p=410 [20 พฤศจิกายน 2565].

ชูชาติ พุทธมาลา. “องค์ประกอบถาวะผู้นำทางดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภู”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ.ภาวะผู้นำดิจิทัล Digital Leadership. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2564

ธานินท์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9, กรุงเทพมหานคร : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี, 2551.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพมหานคร : ชมรมเด็ก, 2535.

ปกรณ์ ศรีสกุล. ภาวะผู้นำในโลกดิจิทัล. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://today.line.me/th/pc/ article/Leadership+in+Digital+Era [20 พฤศจิกายน 2565].

ภานุมาศ จันทร์ศรี. “โมเดลการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา: การวิจัยแบบผสมผสานวิธี”,. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562.

ราชกิจจานุเบกษา. นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561-2580). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://onde.go.th/assets/portals/ 1/files/ 620425-Government%20Gazette.PDF [20 พฤศจิกายน 2565].

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562 การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2562.

สุกัญญา แช่มช้อย. การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561.

เอกชัย กี่สุขพันธ์ (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.trueplookpanya.com/ knowledge/ content/52232/-edu-t2s1-t2-t2s3- [20 พฤศจิกายน 2565].

Sullivan (2017). 8 Skills Every Digital Leader Needs. From https://www.cmswire.com/ digital-workplace/8-skills-every-digital-leader-needs/ Retrieved [November 20, 2022].