อิทธิบาท 4: การบริหารงานอาชีวศึกษาสู่สากล

Main Article Content

สุวัชชัย มงคลธง
พงษ์เทพ ล้อประเสริฐ
ภัทริณี เจริญธรรม
ธนกร สุวรรณปรุง

บทคัดย่อ

การบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วม เป็นหัวใจสำคัญในการศึกษายุคปัจจุบัน เป็นระบบระหว่างผู้ปกครองและครูในการจัดการศึกษา เป็นการบริหารแบบ School – Based Management หลักวุฑฒิธรรมได้เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหาร


การบริหารสถานศึกษาตามหลักวุฒิธรรม 4 ประกอบด้วย 1) สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ เป็นการส่งเสริมบุคลากรในสถานศึกษาของตนเองแสวงหาความรู้ 2) สัทธัมมัสสวนะ การฟังธรรม เป็นส่งเสริมให้บุคลากรสนับสนุนจัดโครงการกิจกรรมเพื่อให้บุคลากรในสังกัดของตนได้ความรู้3) โยนิโสมนสิการการไตร่ตรองธรรม เป็นการกระตุ้นให้มีกระบวนการคิดไตร่ตรองพิจารณาความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเรียนรู้ 4) ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นการนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมกิจกรรมหรือศึกษาหาความรู้จากผู้มีความรู้นักปราชญ์ชาวบ้านนำไปปฏิบัติให้เกิดผลกับการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนด้วยกระบวนการของการมีส่วนร่วม


อิทธิบาท 4 เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อเอาชนะปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ เป็นหนทางนำไปสู่ความสำเร็จในหน้าที่การงานต่าง ๆ ตามที่มุ่งหวังไว้ ซึ่งประกอบด้วยฉันทะ (ความพอใจ) วิริยะ (ความเพียร) จิตตะ (ความคิด) และวิมังสา (ความไตร่ตรอง)


การบริหารอาชีวศึกษาสู่สากลนั้นนั้นต้องมี 1) ฉันทะ ความพอใจ ยินดี เต็มใจที่จะกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 2) วิริยะ ความพยายาม ความเพียร หรือความกล้าที่จะทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับการกระทำ นั้น ๆ โดยไม่มีคาว่าท้อแท้หรือเบื่อหน่าย 3) จิตตะ ความสนใจ เอาใจใส่ หรือตั้งใจในการกระทำนั้น ๆ อย่างจริงจัง โดยไม่ใส่ใจถึง ปัญหาอุปสรรคอันจะเป็นเหตุให้เสียกาลังใจ 4) วิมังสา การใช้ปัญญาพิจารณาตรวจสอบข้อดีข้อเสียข้อบกพร่องตลอดจนปัญหา อุปสรรคและวิธีแก้ไขอย่างมีเหตุผลว่าผลที่ปรากฏนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร มิใช่ขยันอย่างโง่ ๆ 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณะกรรมการการอาชีวศึกษา, ภารกิจและนโยบาย สำนักนักงานคณะกรรมการการ

อาชีวศึกษา. ออนไลน์. แหล่งที่มา: http://www.oic.go.th.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏก. 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2506.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. การบริหารงานบุคคลในโรงเรียน. นนทบุรี: โรงพิมพ์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560.

นายกย้ำ อาชีวศึกษาเป็นกำลังของประเทศแนะดึงเอกชนร่วมพัฒนาการเรียนการสอน

ถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่. ออนไลน์. แหล่งที่มา: https://www.kruachieve.com.

ประภาพร ซื่อสิทธิกุล. หลักการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนา

พานิช, 2560.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี จํากัด เพลท, 2551.

ปัญญา ใช้บางยาง. ธรรมาธิบายหลักธรรมในพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์

ธรรมสภา, 2548.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 46. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์

กรมศาสนา, 2545.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต.). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 12.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2551.

พระธรรมโกศาจารย (ป์ญญา นันทภิกขุ). พจนานุกรมธรรมของท่านปัญญานันทะ.

กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, ม.ป.ป.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลง

กรณราชวิทยาลัย, 2542.

พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). ความสำเร็จหลักธรรมสู่ความสำเร็จและสันติสุข.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา,2545.

พิทูร มลิวัลย์, แบบเรียนวิชาธรรมและนักธรรมชั้นตรี, กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา ,

รังสรรค์ มณีเล็ก. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management : SBM)

หลักเทคนิคการบริหารและการวางแผน. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง, 2564.

วิเชียร ชาบุตรบุณฑริก, พุทธศาสน์ , กรุงเทพมหานคร: โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2535.

ธีระ รุญเจริญ. ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา.

กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง, 2560.

สนอง วรอุไร. ทำชีวิตให้ได้ดีและมีสุข. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์อัมรินทร์ ,

แสงอรุณ โปร่งธุระ, พุทธศาสน์, ( กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายเอกสารตารา สำนักส่งเสริมวิชาการ

สถาบันราชภัฏธนบุรี , 2539) , หน้า 228 - 229..

อาชีวศึกษาแห่งชาติสู่สากล. [ออนไลน์. แหล่งที่มา: https://www.moe.go.th.

Hoy, Wayne K. & Cecil, Masker G., Educational Administration Theory: Research, and

Practice, (New York: McGraw – Hill Inc, 1996.