วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1 ) วัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 2 ) ประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 และ 3 ) ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครปฐมเขต 2 จำนวน 83 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 2 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน และครู จำนวน1 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 166 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การตามแนวคิดของแพตเตอร์สัน เพอร์กี้และปาร์คเกอร์และประสิทธิผลของสถานศึกษาตามแนวคิดของ ลูเนนเบิร์ก และออนสเตน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) วัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ หลักความซื่อสัตย์ หลักความหลากหลาย หลักเป้าหมาย หลักการยอมรับและการให้ผลตอบแทน หลักความเป็นเลิศ หลักความเอื้ออาทร หลักการเป็นส่วนหนึ่ง หลักการมอบอำนาจ หลักความไว้วางใจและความเชื่อมั่น และหลักการตัดสินใจ 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 โดย ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ความคาดหวังที่สูง ภาวะผู้นำด้านวิชาการ พันธกิจของสถานศึกษามีความชัดเจน ความทุ่มเทเวลาในการทำงาน สภาพแวดล้อมเป็นระเบียบและปลอดภัย ความสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้ปกครอง และการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน 3) วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 มีความสัมพันธ์กันในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเป็นความสัมพันธ์เชิง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. โครงสร้างองค์การและวัฒนธรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2562.
จรุณี เก้าเอี้ยน. เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา:กลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ตีรณสาร, 2557.
พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์, พฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 4. หาดใหญ่ : คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558.
ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย. พื้นฐานการจัดการการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560.
ภรณี มหานนท์. การประเมินประสิทธิผลขององค์การ. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2554.
สันติ บุญภิรมย์. หลักการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บุ๊คพ้อยท์, 2552.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค, 2560.
สุนทร โคตรบรรเทา. การบริหารการศึกษาหลักการและทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน, 2560.
อนุพงษ์ อินฟ้าแสง. “วัฒนธรรมองค์การ: ปัจจัยสู่ความสำเร็จ.” วารสารมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 10, 4 ตุลาคม -ธันวาคม 2559 : 35-45.
Best, John W. Research in Education. Englewood Cliffs: New Jersey: Prentice Hall, 1970.
Cronbach, Lee J. Essential of Psychological testing. 3th ed. Newyork: Harper & Row Publisher, 1974.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. Determining Sample size for Research Activities. Educational and psychological Measurement 30, 1970.
Likert, Rensis. New Patterns of management. Tokyo: McGrew- Hill Book company, 1961.
Lunenburg. Fred C. and Ornstein. Allen C. Educational Administration: Concepts and Practices. 6 th ed. CA: Wadsworth Cengage Learning, 2012.