รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักขิณทิศเชิงบูรณาการในรายวิชาพระพุทธศาสนา โรงเรียนแม่วินสามัคคี ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พระอธิการกิตติศักดิ์ สุธีโร (มาลาวงค์)
พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนรายวิชาพระพุทธศาสนา ของโรงเรียนแม่วินสามัคคี ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่  2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักขิณทิศเชิงบูรณาการในรายวิชาพระพุทธศาสนาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่วินสามัคคี ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักขิณทิศเชิงบูรณาการในรายวิชาพระพุทธศาสนาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่วินสามัคคี ตำบลแม่วิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่วินสามัคคี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 33 คน เป็นนักเรียนชาย 18 คน และนักเรียนหญิง 15 คน


ผลการวิจัยพบว่า


1) กระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาพระพุทธศาสนาของครูผู้สอนโรงเรียนแม่วินสามัคคี ยังไม่สอดคล้องกับหลักทักขิณทิศ เนื่องจากครูผู้สอนยังไม่เข้าใจหลักธรรมอย่างลึกซึ้ง มีกระบวนการเรียนการสอนที่มีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนน้อย และไม่มีการส่งเสริมให้นักเรียนนำหลักธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต


2) รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักขิณทิศเชิงบูรณาการในรายวิชาพระพุทธศาสนา มีกระบวนการเรียนการสอน 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 จูงใจให้เกิดความศรัทธา ขั้นที่ 2 กิจกรรมนำพาให้รอบรู้ ขั้นที่ 3 พัฒนาสัมพันธ์ศิษย์และครู และขั้นที่ 4 ย้ำสำนึกตื่นรู้ทักขิณทิศ เรียกรูปแบบนี้ว่า ADAC to 4Goods Model


3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักขิณทิศเชิงบูรณาการในรายวิชาพระพุทธศาสนา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินบทบาทนักเรียนตามหลักทักขิณทิศมีแนวโน้มสูงขึ้น


ผลการวิจัยพบว่า


1) กระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาพระพุทธศาสนาของครูผู้สอนโรงเรียนแม่วินสามัคคี ยังไม่สอดคล้องกับหลักทักขิณทิศ เนื่องจากครูผู้สอนยังไม่เข้าใจหลักธรรมอย่างลึกซึ้ง มีกระบวนการเรียนการสอนที่มีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนน้อย และไม่มีการส่งเสริมให้นักเรียนนำหลักธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต


2) รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักขิณทิศเชิงบูรณาการในรายวิชาพระพุทธศาสนา มีกระบวนการเรียนการสอน 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 จูงใจให้เกิดความศรัทธา ขั้นที่ 2 กิจกรรมนำพาให้รอบรู้ ขั้นที่ 3 พัฒนาสัมพันธ์ศิษย์และครู และขั้นที่ 4 ย้ำสำนึกตื่นรู้ทักขิณทิศ เรียกรูปแบบนี้ว่า ADAC to 4Goods Model


3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักขิณทิศเชิงบูรณาการในรายวิชาพระพุทธศาสนา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินบทบาทนักเรียนตามหลักทักขิณทิศมีแนวโน้มสูงขึ้น


ผลการวิจัยพบว่า


1) กระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาพระพุทธศาสนาของครูผู้สอนโรงเรียนแม่วินสามัคคี ยังไม่สอดคล้องกับหลักทักขิณทิศ เนื่องจากครูผู้สอนยังไม่เข้าใจหลักธรรมอย่างลึกซึ้ง มีกระบวนการเรียนการสอนที่มีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนน้อย และไม่มีการส่งเสริมให้นักเรียนนำหลักธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต


2) รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักขิณทิศเชิงบูรณาการในรายวิชาพระพุทธศาสนา มีกระบวนการเรียนการสอน 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 จูงใจให้เกิดความศรัทธา ขั้นที่ 2 กิจกรรมนำพาให้รอบรู้ ขั้นที่ 3 พัฒนาสัมพันธ์ศิษย์และครู และขั้นที่ 4 ย้ำสำนึกตื่นรู้ทักขิณทิศ เรียกรูปแบบนี้ว่า ADAC to 4Goods Model


3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักขิณทิศเชิงบูรณาการในรายวิชาพระพุทธศาสนา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินบทบาทนักเรียนตามหลักทักขิณทิศมีแนวโน้มสูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติชัย สุธาสิโนบล. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาที่มีสติเป็นฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนระดับประถมศึกษาในสังคมไทยยุคปัจจุบัน. (รายงานการวิจัยทุนจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2554, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ), 2555.

ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบพุทธวิธีเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรี-นครินทร์วิโรฒ), 2558.

ปวรรัตน์ แดงไฟ. หลักธรรมและกลวิธีใช้ภาษาในคอลัมภ์ “จุดไฟในใจคน” ของหลวงพี่น้ำฝน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่), 2559.

พชร ช่วยเกื้อ. ทิศ 6. กรุงเทพมหานคร: พี เอ็น เค แอนด์ สกายพริ้นติ้งส์, 2560.

พระครูปลัดกิตติพงษ์ กิตฺติโสภโณ (วงศ์สถาน). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาแบบใฝ่รู้ของโรงเรียนวัดแม่แก้ดน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย), 2564.

พระมหาอุดร อุตฺตโร (มากดี). พุทธบูรณาการการสอนในชั้นเรียนตามหลักกัลยาณมิตร, วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 8(2), (2560): 309–318.

มลฑา กระวีพันธ์. การปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเสาธงวิทยาอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย), 2550.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

วัชรพงษ์ นาคะสิทธิ์. การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักทิศ 6 โดยกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนของวัดทองนพคุณ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ราชภัฏเพชรบุรี), 2564.

วิทิต บัวปรอท. “ทิศ 6 ในพระพุทธศาสนากับการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในยุควิถีปกติใหม่” วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(6), (2564): 208–220.

วิไล ตั้งจิตสมคิด. การศึกษาและความเป็นครูไทย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, 2549.

ศรีไพร จันทร์เขียว. การจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาโดยพุทธวิธีบูรณาการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย), 2558.

สมฤดี จันทร์กล่ำ. การดำเนินชีวิตตามหลักทิศ 6 ในพุทธปรัชญาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย), 2563.

สุพัตรา สุภาพ. สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2534.