ผลการใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังกราฟิก เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ณัฏฐกานต์ บุญป้อง
สรณบดินทร์ ประสารทรัพย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยกลวิธีการอ่านแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ด้วยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 1 ห้องเรียน 30 คน จากนั้นทำการทดลองโดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 4 บทเรียน และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังกราฟิก ใช้เวลาทั้งสิ้น 6 ชั่วโมงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หน่วยการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 หน่วย ได้แก่ 1) Preparing for the Cave of Crystals 2) Move as Millions, SURVIVE AS ONE 3) Heading South for the Winter 4) Navigating Through the Air 2) แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษด้วยกลวิธีการอ่านแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังกราฟิกของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังกราฟิกเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยกลวิธีการอ่านแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2551). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คู่มือการจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ครุสภาลาดพร้าว.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิด วิธีและเทคนิคการสอน 1. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 16 กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญนำ เกษี. (2556). รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องระบบสมการเชิงเส้น. ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพานทองสภาชนูปภัมภ์ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี.

วิสาข์ จัติวัตร์. (2551). การสอนเขียนภาษาอังกฤษ. นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วันวิสาข์ มาสูตร์. ( 2556). “การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการบอกกระบวนการ ความคิดผังกราฟิก เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและการใช้กลวิธีการอ่านสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัย. ศิลปากร,

ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2552). การสอนภาษาไทยขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: เกรท เอ็ดดูเคชั่น.

อารีรักษ์ มีแจ้ง. (2547)การพัฒนารูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมงานเพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้การอ่านสำหรับนิสิตนักศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตภาควิชาอุดมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bryant, D.P., Linan-Thomson,S., Ugel, N.m Hamff, A., and Hogen, M. (2001). The effect of professional development for middle school general and special education teachers on implementation of reading strategies in inclusive content area classes. Learning Disability Quarterly 24: 251-264.

Carrell, P. (1988). Interactive Text Processing: Implications for ESL and Second Language Classrooms. In Interactive Approaches to Second Language Reading, 239-259. Edited by P. Carrell, J. Devine, and D. Eskey. Cambridge, UK: Cambridge UP.

Chang, J, & Shimizu, W. (1997). Collaborative strategic reading : Cross-age and cross- cultural applications. Paper presented at the Council for Exceptional Children Symposium on Culturally and Linguistically Diverse Exceptional Learners, New Orleans, L.A.

Clark, J.H. (1991). Using visual organizers to focus on thinking. Journal Reading,34, 7(April), 526 534. Klingner, J. (1997). Promoting English acquisition and content learning through collaborative strategic reading. Paper presented at the annual meeting of the American Educational research Association. Chicago.

Klingner, J, k., Vaughn S., Dimino, J., Schumm, J. S., and Bayant, D. (2001). Collaborative Strategic Reading. Longmont: Sopris West.

Klingner, J. K., Vaughn,S., & Schumm, J.S. (1998). Collaborative Strategic Reading. During Social studies in heterogeneous fourth-grade classroom. Elementary School Journal, 99, 3-21.

Skierso, A (1991). Textbook selection and evaluation พิมพ์ครั้งที่ 2. Boston: Heinle & Heinle Publishers.

Slavin, R.E. (1990). Cooperative Learning. Massachusetts: A division of Simon and Schuster.

Vaughn, S. 2002. Collaborative Strategic Reading (CSR): Improving reading comprehension skills. Available from: http://www.ncset.org[2004, November 19].