การแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดโดยพุทธสันติวิธีของวัดในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นวลวรรณ พูนวสุพลฉัตร
วิชาภรณ์ แก้วศรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัย เรื่อง “การแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดโดยพุทธสันติวิธีของวัด ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร” นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาสุนัขจรจัด และ 2) เพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดโดยพุทธสันติวิธีของวัดในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบมีการสัมภาษณ์เชิงลึก มีผลการวิจัยดังนี้ 


สุนัขจรจัด คือสุนัขที่เร่ร่อน พักอาศัยอยู่ในที่รกร้างว่างเปล่า หรือตามอาคารร้าง ตลาดชุมชน หรือวัดวาอาราม ตลอดจนสถานที่ราชการต่างๆ เคยมีการประเมินว่า ประเทศไทยมีสุนัขจรจัดมากกว่า 1 ล้านตัว ในกรุงเทพมหานคร มีประมาณ 2.8 แสนตัว สุนัขเหล่านี้สร้างความเดือดร้อนรำคาญหรือไล่กัดทำร้ายผู้คน เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยเฉพาะโรคพิษสุนัขบ้า ผลจากการสำรวจข้อมูลในวัดกลุ่มตัวอย่าง 12 วัด จากจำนวนทั้งหมด 32 วัด ในเขตบางกอกน้อย ทำให้ทราบว่าปัจจุบันนี้ไม่มีสุนัขจรจัดอีกแล้ว มีแต่สุนัขที่พระในวัดเลี้ยง  การแก้ไขปัญหาสุนัขภายในวัดโดยพุทธสันติวิธี มี 2 มาตรการ หรือเป็น 2 โมเดล คือ (1) โมเดลวัดวิเศษการ เป็นแบบการจัดสวัสดิการและป้องกันการทำทารุณกรรมสัตว์ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองสัตว์ พ.ศ. 2557 และ (2) โมเดลวัดนายโรง เป็นแบบจัดการวัดให้เป็นเขตปลอดสุนัข ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักพุทธธรรม พรหมวิหาร 4 ข้อเมตตา-กรุณา และสังคหวัตถุ ข้อทาน ส่วนหลักพุทธสันติวิธี ได้แก่อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน เป็นหลักสร้างสันติสุขทั้งทางโลกและทางธรรม 

Article Details

How to Cite
พูนวสุพลฉัตร น., & แก้วศรี ว. (2024). การแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดโดยพุทธสันติวิธีของวัดในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ , 10(2), 173–186. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/266050
บท
บทความวิจัย

References

เบ็ญจวรรณ สิชฌนาสัย. การดำเนินการเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการควบคุมจำนวนสุนัขจรจัดจากการทำลายเป็นการทำหมันสุนัขจรจัดปล่อยกลับที่เดิม.

แนวร่วมเพื่อการควบคุมสัตว์เลี้ยงระหว่างประเทศ (International Companion Animal Management Coalition, ICAM). แนวทางการควบคุมประชากรสุนัขเร่ร่อน. London: Society for the Protection of Animals, 2018.

กองควบคุมโรค สํานักอนามัย. “การศึกษานิเวศวิทยาของสุนัขในเขตกรุงเทพมหานครกับการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า: ฝ่ายระบาดวิทยา”. ตุลาคม, 2541.

กองลหุโทษ. กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กองลหุโทษ, 2452.

คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”. วิจัยประเมินผลกระทบสุขภาพและสังคมของนโยบายการควบคุมสุนัขจรจัดและโรคพิษสุนัขบ้าในเขตกรุงเทพมหานคร. สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กันยายน 2547.

จันทรา สิงห์ชัย. “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำทะเบียนสุนัขของเจ้าของสุนัขที่มารับบริการในสถานพยาบาลสัตว์”. วารสารสัตวแพทย์ผู้ประกอบโรคบำบัดสัตว์. ฉบับที่ 3 ปีที่ 16 (กรกฎาคม-กันยายน 2547).

ทรรศนีย ศรีรัตนมงคล. “ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการจัดระเบียบสุนัขไปปฏิบัติ”. เอกสารวิจัยภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (2545).

ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร. โรคพิษสุนัขบ้า ประสบการณ์และแนวทางการป้องกันโรค. วารสารเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม, 2542.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.

มารค ตามไท. สันติวิธี: ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อความมั่นคง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันยุทธศาสตร์สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ, 2542.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์จำกัด, 2546.