การประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ของเกษตรกร ตำบลเสวียด อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินชีวิตของเกษตรกร ตำบลเสวียด อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) ศึกษาหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ และ 3) วิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของเกษตรกร ตำบลเสวียด อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลคำสัมภาษณ์ตามวัตถุประสงค์ ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า 1) การดำเนินชีวิตของเกษตรกร เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนควบคู่ไปกับการพัฒนาความสุข ทั้งของตน ผู้อื่น และคนหมู่มาก เป็นผลดีทั้งแก่ตน ผู้อื่น สังคม และสิ่งแวดล้อม เกษตรกรผู้ดำเนินชีวิตตามแนวทางนี้จะเป็นทั้งคนดี คนเก่ง และมีความสุข เนื่องจากทุกองค์ประกอบของชีวิตคือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้รับการพัฒนาไปพร้อมกัน 2) ทิฏฐธัมมิกัตถะ เป็นหลักธรรมสำคัญทางเศรษฐกิจในพุทธศาสนาหมายถึง ประโยชน์ในปัจจุบัน 4 อย่าง คือ (1) อุฏฐานสัมปทา ความขยันหมั่นเพียร คือ ขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่การงาน, (2) อารักขสัมปทา การรักษา คือ รู้จักคุ้มครองเก็บรักษาโภคทรัพย์ และผลงานอันตนได้ทำไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียร, (3) กัลยาณมิตตตา คบคนดีเป็นมิตร คือ รู้จักกำหนดบุคคลในถิ่นที่อาศัย, (4) สมชีวิตา มีความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม คือรู้จักกำหนดรายได้และรายจ่ายเลี้ยงชีวิต หรือเรียกว่า “หัวใจเศรษฐี” คือ อุ อา กะ สะ 3) การประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของเกษตรกร คือ (1) ความหมั่น ในการรับรู้การประกอบอาชีพที่สุจริต ฝึกฝนตนให้มีความชำนาญและรู้จริงในกิจการงาน, (2) การรักษา มีความเข้าใจ ความพึงพอใจในการใช้ปัญญาเป็นหลักคิดพิจารณาและคิดคำนวณเสมอ, (3) การคบหามิตร ที่ต้องมีเพื่อนที่ดีสนับสนุน ช่วยเหลือ แนะนำสิ่งดีๆ และสามารถนำหลักธรรมในพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ได้, (4) การเลี้ยงชีวิต ที่ต้องรู้จักใช้จ่ายทรัพย์เพื่อเลี้ยงชีวิตอย่างสมเหตุสมผลสอดคล้องกับหลักโภคสุข องค์ความรู้ที่ได้จาการวิจัย ออกมาเป็น “UAKS Model”
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
แก้ว ชิดตะขบ. ประวัติความสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. 2553.
นพดล สุวรรณสุนทร. หลักการบริหารงานสมัยใหม่ ประยุกต์ใช้ควบคู่กับหลักพุทธธรรม. สุพรรณบุรี : วิทยาลัยการอาชีพสองพี่น้อง. 2555
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11/2, (กรุงเทพมหานคร : เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด. 2551.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน. 2556.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). คู่มือชีวิต. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา. 2562.
สำนักนายกรัฐมนตรี. สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2565-2569). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2565.
สำนักวิชาการ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์. การปฏิรูปภาคการเกษตร พ.ศ. 2560 วาระที่ 14, สรุปการปฎิรูปภาคเกษตร. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2561.
United Nation. Quality of Life in the ESCAP Region. New York, USA. 1995.